ชุด D ของฮัทชิสัน พอร์ท ต้อนรับเรือ ‘' หนึ่งในเรือขนส่งตู้สินค้าขนาดใหญ่ที่สุดในโลก

Main Photo 1 2
ร้อยตำรวจเอก ธนาบดี ธูปเทียนรัตน์ (ขวาสุด) ผู้ช่วยผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง พร้อมด้วย มร. สตีเฟ่น แอชเวิร์ธ (ซ้ายสุด) กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย Mr. Peter Blohm (ที่ 2 จากซ้าย) กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็มเอสซี เมดิเตอร์เรเนียน ชิปปิ้ง ประเทศไทย และ นางสาวรุ่งฤดี คุรุธัช (ที่ 3 จากซ้าย) รองผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอ็มเอสซี เมดิเตอร์เรเนียน ชิปปิ้ง ประเทศไทย

ต้อนรับเรือขนส่งตู้สินค้าขนาดใหญ่ MSC MINA ของสายเดินเรือ เมดิเตอร์เรเนียน ชิปปิ้ง เข้าเทียบท่าที่ท่าเทียบเรือชุด D ของฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย ณ ท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี โดยนับเป็นเรือขนส่งตู้สินค้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยเทียบท่าในประเทศไทย และเป็นหนึ่งในเรือขนส่งตู้สินค้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก 


เกี่ยวกับฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย 

ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย ( Thailand – ) ได้รับการก่อตั้งขึ้นเป็นพิเศษเพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจขนส่งตู้สินค้าของประเทศไทย บริษัทฯ ตั้งอยู่ในบริเวณท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งเป็นท่าเทียบเรือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยบนชายฝั่งของจังหวัดชลบุรีที่อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ลงมาเพียง 130 กิโลเมตร ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย ให้บริการอำนวยความสะดวกเต็มรูปแบบ รวมถึง บริการสถานีขนถ่ายสินค้า ระบบรถไฟขนส่งรางคู่และมีเส้นทางเชื่อมต่อที่ดีกว่าสู่ทางหลวงสายหลักเพื่อไปยังจุดหมายปลายทางในที่ต่างๆ ในประเทศไทย โดยมีจุดให้บริการในแหลมฉบังอยู่ที่ท่าเทียบเรือ A2 A3 C1 C2 และ D1 ขณะนี้กำลังดำเนินการพัฒนาท่าเทียบเรือ D2 และ D3

ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย เป็นสมาชิกของกลุ่มฮัทชิสัน พอร์ท ซึ่งเป็นส่วนงานหนึ่งของบริษัท ซีเค ฮัทชิสัน โฮลดิ้งส์ จำกัด (CK Hutchison Holdings Limited) ที่ดำเนินธุรกิจให้บริการด้านท่าเทียบเรือและบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ ฮัทชิสัน พอร์ท เป็นผู้ลงทุน พัฒนาและดำเนินกิจการด้านท่าเทียบเรือชั้นนำของโลก มีเครือข่ายท่าเทียบเรือถึง 52 แห่ง กระจายอยู่ใน 27 ประเทศทั่วโลก ทั้งใน เอเซีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา ยุโรป อเมริกา และออสเตรเลีย ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ฮัทชิสัน พอร์ท ได้ขยายกิจการครอบคลุมไปถึงธุรกิจขนส่งและในด้านอื่นๆ ด้วย อาทิ ท่าเทียบเรือโดยสาร บริการท่าอากาศยาน ศูนย์กระจายสินค้า บริการขนส่งด้วยระบบรางและอู่ซ่อมเรือ