เคยสงสัยไหมว่าผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์สามารถบริหารค่าใช้จ่ายโดยไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อห่วงโซ่ความเย็นชีวเวชภัณฑ์ (biopharma cold chain) ได้อย่างไร? วันนี้เฟดเอ็กซ์จะช่วยบอกเคล็ดลับการวางแผนการขนส่ง ทั้งการนำเข้าและส่งออกสินค้าจากภูมิภาคเอเชียที่จะช่วยให้การทำธุรกิจประสบผลสำเร็จ
ในปัจจุบันสินค้าเวชภัณฑ์เติบโตอย่างรวดเร็วในภูมิภาคเอเชีย ทำให้ผู้ผลิตระดับโลกต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อ ซัพพลายเชนในเส้นทางการค้าภูมิภาคเอเชีย การจัดการขนส่งสินค้าจึงต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบเพื่อให้การทำธุรกิจประสบผลสำเร็จ และผู้บริหารบริษัทชีวเวชภัณฑ์จะต้องรักษาสมดุลเอาไว้ให้ได้ด้วย
ความกังวลด้านต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
เมื่อไม่นานมานี้ EvaluatePharma บริษัทวิจัยการตลาดได้รายงานว่า แม้ว่าจะมีบริษัทเวชภัณฑ์ระดับโลกจำนวนมากที่มีผลประกอบการแข็งแกร่งตลอดปี 2562 แต่ก็ยังมีอีกหลายบริษัทที่ยังคงต้องเผชิญความกดดันเรื่องต้นทุน เพราะในอีก 5 ปี
ข้างหน้าจะมีสิทธิบัตรยา จำนวนมากหมดอายุการใช้งานลง ซึ่งอาจทำให้หลายบริษัทสูญเสียเงินได้รวมสูงถึงกว่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ
บริษัทเวชภัณฑ์ส่วนหนึ่งจึงพยายามชดเชยรายได้ที่ขาดหายไปจากสินค้าเวชภัณฑ์กลุ่มขายดีที่สิทธิบัตรหมดอายุ ด้วยการเปิดตัวผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมยาใหม่ๆ ซึ่งเวชภัณฑ์กลุ่มใหม่นี้ล้วนต้องขนส่งแบบควบคุมอุณภูมิอย่างเคร่งครัด ทำให้รายจ่ายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ตลาดการขนส่งโซลูชั่นห่วงโซ่ความเย็นมีมูลค่ากว่า 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2562 และกำลังโตขึ้นทุกปี
ด้วยข้อจำกัดข้างต้น บริษัทชีวเวชภัณฑ์จำนวนมากจึงกำลังมองหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งห่วงโซ่ความเย็นชีวเวชภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการขนส่งวัตถุดิบในการผลิตยาไปยังโรงงาน ไปจนถึงการส่งสินค้าสำเร็จรูปให้แก่ผู้บริโภค
การหาจุดบาลานซ์ระหว่างรายจ่ายและความเสี่ยง
อย่างที่ผู้จัดการซัพพลายเชนหลายคนทราบดีอยู่แล้วว่า รายจ่ายที่เกิดขึ้นนั้นมีมากกว่าแค่ค่าจัดส่งและค่าขนส่ง เพราะอาจมีค่าความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการขนส่งด้วย และถึงแม้ว่าบริการในบางรูปแบบจะมีราคาถูกกว่า แต่นั้นก็คือความเสี่ยงที่อาจเพิ่มขึ้นและทำให้เกิดความสูญเสียมากกว่า อาทิเช่น การจัดการสินค้าระหว่างการขนส่งโดยผิดวิธีหรือความล่าช้าของการจัดส่งที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้ควรจะถูกประเมินและรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการต่อรองสัญญาธุรกิจระหว่างบริษัทฯ และผู้ให้บริการขนส่งด้วยเช่นกัน
ผู้ให้บริการโลจิสติกส์บางรายสามารถลดค่าใช้จ่ายด้วยการจ้างบริษัทบุคคลที่ 3 แต่ก็ทำให้เกิดความเสี่ยงขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนผู้ให้บริการขนส่ง โดยปัญหาอาจเกิดขึ้นระหว่างการเปลี่ยนผู้ให้บริการ หรือสืบเนื่องจากขาดการประสานงานระหว่างผู้เกี่ยวข้องต่างๆ ด้วยสาเหตุนี้ บริษัทชีวเวชภัณฑ์จึงควรเลือกใช้บริษัทโลจิสติกส์ที่มีบริการครบวงจรตั้งแต่ต้นจนจบในรายเดียว สามารถขนส่ง จัดการและดูแลพัสดุโดยทีมภายในบริษัทฯ ซึ่งมีระบบการจัดการและคุณภาพการทำงานที่มีมาตรฐานเดียวกัน
บริษัทโลจิสติกส์หลายบริษัทฯ สนับสนุนให้ผู้ประกอบการใช้การขนส่งสินค้าทางทะเลเนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า เหมาะกับกลุ่มธุรกิจที่ขนส่งวัตถุดิบซึ่งทนต่อระยะเวลาส่งที่ยาวนานได้ หรือผู้ประกอบการที่ขนส่งสินค้าสำเร็จรูประหว่างประเทศใกล้เคียง อาทิ ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ถึงแม้ว่าเฟดเอ็กซ์จะเน้นการขนส่งสินค้าทางอากาศ แต่บริษัทฯ ก็มีโซลูชั่นการขนส่งหลากหลายรูปแบบภายใต้ความร่วมมือของบริษัท เฟดเอ็กซ์ โลจิสติกส์ ซึ่งเป็นบริษัทภายในเครือเฟดเอ็กซ์
ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงส่วนมากมักเลือกที่จะใช้บริการขนส่งทางอากาศเพราะมีการขนส่งที่รวดเร็วและเชื่อถือได้ และไม่มีความเสี่ยงจากมาตราการ IMO2020 ที่กำหนดออกมาเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการเดินเรือ ซึ่งมาตราการ
นอกจากจะเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านการขนส่งทางทะเลแล้ว ยังทำให้ซัพพลายเชนเกิดความล่าช้า เพราะต้องทำการปรับปรุงให้เข้ากับมาตรฐานใหม่หรือเพราะถูกปฏิเสธไม่ให้จอดเทียบท่าเรือ
นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องปริมาณสินค้าที่เพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลต่างๆ ทั้งวันหยุดฝั่งประเทศตะวันตกและเทศกาลตรุษจีนในเอเชีย เนื่องจากความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคมากขึ้น ทำให้เส้นทางขนส่งเกิดความหนาแน่นและทำให้ผู้ผลิตชีวเวชภัณฑ์ต้องประสบปัญหาด้านราคาค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้นตามมา นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงด้านความล่าช้าที่ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นสืบเนื่องจากการเปลี่ยนเส้นทางใหม่ บรรจุสินค้าใหม่ การกักเก็บพัสดุ และผลิตภัณฑ์ที่เน่าเสีย
ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้สามารถหลีกเลี่ยงได้ด้วยการใช้บริการบริษัทโลจิสติกส์ที่สามารถเสนอราคาการขนส่งที่คงที่และราคาขนส่งที่สามารถคาดการณ์ได้ในช่วงเทศกาล เช่น บริษัทเฟดเอ็กซ์ที่มีเครือข่ายการขนส่งทางอากาศจำนวนมากเป็นของตัวเอง ทำให้สามารถจัดการสินค้าจำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดการผันผวนของราคาขนส่งช่วงเทศกาลได้ดีกว่าบริษัทขนส่งอื่นๆ อีกหลายราย
ท้ายที่สุดแล้ว บริษัทชีวเวชภัณฑ์ทั้งหลายล้วนมีการจัดสรรต้นทุน ปริมาณความเสี่ยง และรูปแบบการขนส่งเป็นของตนเอง ดังนั้น เมื่อมองหาผู้ให้บริการโลจิสติกส์ บริษัทต่างๆ ควรเลือกผู้ให้บริการที่มีความยืดหยุ่นและรวดเร็วเป็นปัจจัยสำคัญ และมีทีมงานที่มากประสบการณ์ สามารถเข้าใจรูปแบบธุรกิจ และสามารถปรับวิธีการขนส่งสินค้าตามความต้องการเฉพาะของธุรกิจนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี
ติดต่อ FedEx Healthcare และ ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชภัณฑ์: คลิ๊กที่นี่
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเฟดเอ็กซ์: คลิ๊กที่นี่
กี่ยวกับเฟดเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส
เฟดเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการขนส่งแบบด่วนรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยให้บริการรับส่งพัสดุที่รวดเร็วและเชื่อถือได้ สู่ปลายทางกว่า 220 ประเทศทั่วโลก เฟดเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส มีเครือข่ายการขนส่งทั้งภาคพื้นดินและทางอากาศทั่วโลก เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกด้านการจัดส่งพัสดุด่วนในเวลาจำกัด พร้อมทั้งรับประกันการคืนเงินภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด
เกี่ยวกับเฟดเอ็กซ์ คอร์ปอเรชั่น
เฟดเอ็กซ์ คอร์ปอเรชั่น (มีชื่อเรียกในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กว่า FDX) เป็นผู้ให้บริการขนส่ง อี-คอมเมิร์ซ และบริการด้านธุรกิจแก่ลูกค้าและธุรกิจต่าง ๆ ทั่วโลก บริษัทของเราให้บริการด้านธุรกิจครบวงจร โดยมีบริษัทในเครือที่ทำงานแข่งขันกันเป็นกลุ่มและบริหารจัดการด้วยความร่วมมือภายใต้แบรนด์เฟดเอ็กซ์ที่ได้รับความไว้วางใจ โดยมีรายได้ปีละ 69,000 ล้านเหรียญสหรัฐ บริษัทของเรายังได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในผู้จ้างงานที่ได้รับความไว้วางใจและเป็นที่ชื่นชอบสูงสุดของโลก
เฟดเอ็กซ์สร้างแรงบันดาลใจให้พนักงานมากกว่า 450,000 รายในการเป็นผู้ให้บริการขนส่งที่ยึดถือและปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัย หลักจริยธรรม และความเชี่ยวชาญระดับมืออาชีพ รวมถึงความต้องการของลูกค้าและชุมชน “อย่างแน่วแน่และถึงที่สุด” ท่านสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: about.fedex.com