ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย ผู้ประกอบการท่าเทียบเรือชั้นนำในประเทศไทย นำโดย มร. สตีเฟ่น แอชเวิร์ธ กรรมการผู้จัดการ ฮัทชิสัน พอร์ท ประจำประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ให้การต้อนรับ นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมและคณะติดตาม ลงพื้นที่เยี่ยมชมการทำงานของปั้นจั่นยกตู้สินค้าภายในท่าเทียบเรือชุด D ที่ติดตั้งเทคโนโลยีควบคุมระบบปฏิบัติงานจากระยะไกล (Remote Control Technology) ทั้งหมดภายในอาคารปฏิบัติการ พร้อมเยี่ยมชมศูนย์บริการผู้เยี่ยมชม (Visitor Center) แห่งใหม่ที่ทันสมัยของบริษัทฯ

นออกเฉียงใต้ (ที่ 3 จากขวา) พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร เรือเอกสกล โตจำเริญ ประธานบริหารงานทั่วไป (ที่ 2 จากขวา) และนายอาณัติ มัชฌิมา ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ฮัทชิสัน แหลมฉบัง เทอร์มินัล จำกัด (ขวาสุด) ให้การต้อนรับนายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่
าการกระทรวงคมนาคม (ที่ 4 จากซ้าย) นายวิทยา ยาม่วง ผู้ตรวจการราชการกระทรวงคมนาคม (ที่ 2 จากซ้าย) เรือโทกมลศักดิ์ พรหมประยูร ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่
งประเทศไทย (ที่ 3 จากซ้าย) และเรือโทยุทธนา โมกขาว, ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง (ซ้ายสุด) ในการลงพื้นที่เยี่
ยมชมการทำงานของปั้นจั่นยกตู้สิ
นค้าภายในท่าเทียบเรือชุด D ของฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย ที่ตั้งอยู่ภายในท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี
ทั้งนี้ ท่าเทียบเรือชุด D เป็นหนึ่งในท่าเทียบเรือขนส่งสินค้าแห่งแรกของโลกที่มีการติดตั้งเทคโนโลยีควบคุมระบบปฏิบัติงานจากระยะไกลอย่างเต็มรูปแบบสำหรับปั้นจั่นหน้าท่าและปั้นจั่นยกตู้สินค้าในลานแบบล้อยางทั้งหมด โดยจะเป็นท่าเทียบเรือน้ำลึกที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในประเทศไทย พร้อมความสามารถในการรองรับบรรดาเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
สอดคล้องกับแผนการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งในระยะยาวของกระทรวงคมนาคม ที่เร่งผลักดันการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง โดยเฉพาะในโครงการพัฒนาท่าเทียบเรือภายในท่าเรือแหลมฉบัง อันเป็นส่วนสำคัญของโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซี (eastern economic corridor)

ท่าเทียบเรือชุด D เฟสแรกที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว
ปัจจุบัน ท่าเทียบเรือชุด D เฟสแรกเสร็จสมบูรณ์และเปิดให้บริการแล้วด้วยความยาวหน้าท่า 1,000 เมตร ประกอบด้วยปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าที่ใหญ่ที่สุดในโลก (Super Post Panamax Quay Cranes) จำนวน 6 คัน และปั้นจั่นยกตู้สินค้าในลานแบบล้อยาง (Rubber Tyred Gantry Cranes) จำนวน 20 คัน
ซึ่งในการเมื่อโครงการเสร็จสมบูรณ์ ท่าเทียบเรือชุด D จะมีความยาวหน้าท่ารวมทั้งสิ้น 1,700 เมตร ประกอบไปด้วยปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าจำนวน 17 คัน และมีปั้นจั่นยกตู้สินค้าในลานแบบล้อยางจำนวน 43 คัน ทั้งหมดใช้เทคโนโลยีควบคุมระบบปฏิบัติงานจากระยะไกล เพิ่มความสามารถในการรองรับตู้สินค้าได้ราว 3.5 ล้านทีอียูต่อปี (หน่วยนับตู้สินค้าขนาด 20 ฟุต) โดยเพิ่มความสามารถในการรองรับตู้สินค้าของท่าเทียบเรือแหลมฉบังได้อีกราว 40 เปอร์เซ็นต์ หรือให้สามารถรองรับตู้สินค้าได้ทั้งสิ้น 13 ล้านทีอียู