เอเชียกำลังเปิดประตูสู่วิวัฒนาการของเมเดลที่ถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งโมเดลซัพพลายเชนนี้ได้ถูกเชื่อมโยงกับระบบต่างๆ อย่างทั่วถึงและพร้อมที่จะลงแข่งในตลาดดิจิทัล

การปฏิวัติด้านซัพพลายเชนเริ่มต้นแล้วที่เอเชีย เอเชียนำทัพปฏิวัติซัพพลายเชนโซลูชั่นที่ขับเคลื่อนด้วยระบบดิจิทัลและครบวงจร

คาเรน เรดดิงตัน ประธาน บริษัท เฟดเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส (FedEx Express) ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “เอเชียกำลังเป็นผู้นำการพัฒนาด้านซัพพลายเชนโซลูชั่นที่ขับเคลื่อนด้วยระบบดิจิทัลและมีบูรณาการสูง อย่างไรก็ตาม เอเชียจำเป็นต้องมีการกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์และการจัดลำดับความสำคัญของซัพพลายเชนเพื่อรักษาศักยภาพในการแข่งขันกับตลาดโลก”

“การลงทุนกับการจัดการซัพพลายเชนในเอเชียจึงเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญมากกว่าที่เคยเป็นมา การลงทุนนี้จะทำให้ธุรกิจต่างๆ มีความยืดหยุ่นในการรับมือกับอุปสรรคทางเศรษฐกิจ ทั้งรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ยกตัวอย่างเช่น ความตึงเครียดทางการค้าเป็นต้น เร็วๆ นี้ผลสำรวจพบว่า มากกว่า 90 เปอร์เซ็นของบริษัทจีนกำลังปรับแผนการจัดการซัพพลายเชนของตนเองเพื่อลดผลกระทบจากภาษีศุลกากร เช่นการย้ายสถานที่การผลิต

ทำให้บริษัทจีนจำเป็นที่จะต้องมีการปรับแผนงานที่มีประสิทธิภาพและระบบนิเวศซัพพลายเชนที่มีบูรณาการสูงที่นำไปสู่ความร่วมมือระหว่างภาคเอกชน ภาครัฐ และเครือข่ายโลจิสติกส์ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเลยในทาง หากแต่ผลลัพท์ที่ได้นั้นคุ้มค่า การจัดการซัพพลายเชนในปัจจุบัน นอกจากจะทำให้ธุรกิจขนาดย่อมและขนาดกลางในเอเชียสามารถขยายตัวได้อย่างรวดเร็วแล้ว ยังช่วยให้แข่งขันในตลาดโลกง่ายขึ้นอีกด้วย”

ข้อได้เปรียบของซัพพลายเชนในเอเชีย – การดำเนินงานรูปแบบใหม่

เอเชียนำหน้าทวีปอื่นๆ ในด้านดิจิทัล ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การจัดการซัพพลายเชนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การดำเนินการต่างๆ สามารถเกิดขึ้นผ่านสมาร์ทโฟน การจัดการซัพพลายเชนในเอเชียไม่เพียงแต่คำนึงถึงสินค้าหลากหลายหรือเหล่านั้น แต่ยังคำนึงถึงโซลูชั่นที่จะสามารถทำให้เกิดการใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพ

แต่ยังทำให้ธุรกิจทุกประเภทสามารถเข้าถึงตลาดการค้าระดับโลกได้ การโยกย้ายสายการผลิตในระดับสากลทำให้ตลาดเอเชียโตขึ้น มีสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่มาจากเอเชียมากขึ้น มีการค้าขายภายในเอเชียมากขึ้น และกลายเป็นจุดหมายของตลาดอเมริกาและตลาดใหญ่อื่นๆ  ยิ่งไปกว่านั้น เส้นทางการค้าที่ใหญ่ที่สุดไม่ใช่จากเอเชียสู่ยุโรป หรือจากเอเชียสู่อเมริกา แต่เป็นเส้นทางการค้าภายในกลุ่มประเทศเอเชีย การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของกระแสการค้านี้ทำให้เอเชียกลายเป็นตัวกลางสำคัญของวิวัฒนาการซัพพลายเชน

ในขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วบางประเทศยังคงติดอยู่กับโมเดลซัพพลายเชนที่ตายตัวและโครงสร้างพื้นฐานแบบเดิมๆ ประเทศกำลังพัฒนาในกลุ่มประเทศเอเชียและธุรกิจต่างๆ ในเขตภูมิภาคบ่อยครั้งเริ่มต้นจากศูนย์ ทำให้ธุรกิจเหล่านี้มีการดำเนินงานรูปแบบใหม่ และสามารถพัฒนาโมเดลซัพพลายเชนใหม่ๆ จากนวัตกรรมและองค์ความรู้ (Knowhow) พร้อมทั้งความสามารถในการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทางธุรกิจอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ เอเชียยังนำโด่งในด้าน Digitization ทำให้เกิดความชัดเจนและประสิทธิภาพในการจัดการซัพพลายเชนที่มากกว่า

ศูนย์รวมซัพพลายเชนระดับภูมิภาคได้เกิดขึ้นมากมายทั่วเอเชีย จากกวางโจวไปยังเซี่ยงไฮ้ โอซาก้า และสิงคโปร์ ทำให้ประเทศในเอเชียแปซิฟิกมีบทบาทมากขึ้นในเครือข่ายใหม่ที่เกิดขึ้น

ซัพพลายเชนโซลูชั่นที่ ‘ดีที่สุด’

ไม่เพียงแค่การเคลื่อนย้ายสินค้าจากจุด A ไปยังจุด B เท่านั้น แต่นวัตกรรมดิจิทัลจำต้องยกระดับความชัดเจน ความโปร่งใส ความสอดคล้อง และความเชื่อถือได้ของซัพพลายเชนได้ ประการแรก นวัตกรรมด้านซัพพลายเชนต้องสามารถแก้ไขปัญหาได้ โดยต้องเริ่มจากการถามคำถามว่า ปัญหาคืออะไร ทำไมถึงไม่สามารถแก้ไขด้วยโซลูชั่นที่มีอยู่ได้ แล้วเราจะสามารถปรับเปลี่ยนการจัดการซัพพลายเชนเพื่อทำให้เกิดคุณค่าที่แท้จริงได้อย่างไร

ประการที่สอง ระบบซัพพลายเชนจำเป็นต้องปรับตัวได้มากขึ้น ยืดหยุ่นได้มากขึ้น และพร้อมที่จะรับมือกับความไม่แน่นอนและความเสี่ยง ประการที่สาม นวัตกรรมด้านซัพพลายเชนต้องมีการบริหารจัดการแบบรวมศูนย์ ที่สามารถติดตามได้ตั้งแต่ออร์เดอร์ รับและแพ็คพัสดุ จัดส่งและติดตามสินค้า ซึ่งทำให้ระบบมีความปลอดภัย ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า ประการที่สี่ การมอบการบริการให้ผู้บริโภคตามความพอใจส่วนบุคคล

ซึ่งเป็นซัพพลายเชนรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นในลักษณะ “on demand” และประการสุดท้าย นวัตกรรมด้านซัพพลายเชนต้องสามารถลดความซับซ้อนและในการดำเนินการ รวมทั้งทำให้การขนส่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น

“สิ่งเหล่านี้เป็นความท้าทายเหนือดิจิทัลซัพพลายเชน เราจึงจำเป็นต้องคอยนำเสนอวิธีการใหม่ๆ ในการสร้างโซลูชั่นเพื่อผู้บริโภคในส่วนของเฟดเอ็กซ์ เราเริ่มต้นจากการขนส่งสินค้าทางอากาศ แต่ด้วยความต้องการรูปแบบใหม่และความท้าทายที่เกิดขึ้น เราจึงต้องนำเสนอบริการที่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และปรับตัวเพื่อให้เป็นซัพพลายเชนโซลูชั่นที่ ‘ดีที่สุด’

ซึ่งครอบคลุมถึงการผสมผสานระหว่างโซลูชั่นด้านการขนส่งทางบก น้ำ และอากาศ การจัดการคลังสินค้าและ

อี-ฟูลฟิลล์เม้นท์ (E-commerce ) บริการพิธีการศุลกากร (Custom brokerage) การอำนวยความสะดวกทางการค้า เทคโนโลยีการชำระเงินที่ปลอดภัย และโลจิสติกส์แบบไปข้างหน้า (Forward logistics)” คาเรนฯ กล่าวเสริม

ซัพพลายเชนโซลูชั่นในอนาคต

“บิ๊กดาต้า ปัญญาประดิษฐ์ ยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ และหุ่นยนต์ กำลังเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของอุตสาหกรรมซัพพลายเชนและการออกแบบโซลูชั่นในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น FedEx Same-Day Bot หรือหุ่นยนต์จัดส่งสินค้าภายในวันเดียว เป็นเครื่องมือจัดส่งอัตโนมัติออกแบบเพื่อช่วยให้เหล่าผู้ค้ารายย่อยทำไปยังผู้ใช้ปลายทาง (Last-mile) ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงได้ภายในวันเดียว (Same-day) 

ซึ่งหุ่นยนต์ตัวนี้มีความปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับที่กำลังเติบโต อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าทุกคนจะพร้อมสำหรับยุคดิจิทัล จากประสบการณ์ที่ผ่านมาของเฟดเอ็กซ์ เราได้เห็นหน่วยงานและบริษัทบางส่วนในเอเชียมีความล่าช้าในการยอมรับความเปลี่ยนแปลงและเลือกที่จะทำงานในรูปแบบเก่าๆ เช่น เอกสารทางอากาศในแบบฟอร์มกระดาษ โทรศัพท์ หรือการแฟกซ์เอกสารเพื่อจองการขนส่งสินค้า เป็นต้น ซึ่งผิดกับธุรกิจอีคอมเมิร์ซส่วนใหญ่ในเอเชียที่ได้นำอุปกรณ์และเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เข้ามาปรับใช้กับระบบซัพพลายเชน”

ดังนั้น การที่จะเป็นผู้นำการแข่งขันระดับโลก ธุรกิจนั้นๆ จำเป็นที่จะต้องมีการจัดการซัพพลายเชนที่ถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี จึงจะสามารถอยู่รอดได้ ซึ่งเอเชียได้เป็นผู้เริ่มนำวิวัฒนาการซัพพลายเชนมาก่อนคนอื่นแล้ว ดังนั้น เราไม่ควรสูญเสียโมเมนตัมนี้ไป