สาขาโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เตรียมตัววางแผนเรียน มีอะไรบ้าง ?
- รู้หรือไม่สาขาโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เรียนอะไรบ้าง ?
- สิ่งที่จะได้เรียนรู้เกี่ยวสาขาโลจิสติกส์ การวางแผนการขนส่ง การจัดเก็บและควบคุมสินค้า การจัดซื้อจัดหา การจัดการศูนย์กระจายสินค้า การบรรจุภัณฑ์ การส่งมอบสินค้า การติดต่อทำธุรกิจระหว่างประเทศ และการคำนวณต่าง ๆ เช่น ต้นทุน สั่งซื้อ เป็นต้น เป็นสิ่งที่จะหนีไม่พ้น
- หลักสูตรสาขาโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน แบ่งออกเป็น
- ผู้จบ ม.6 / ปวช. / กศน. ในหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี
- ภาคปกติ เรียนในเวลาราชการและวันเสาร์ – วันอาทิตย์
- ภาคพิเศษ เรียนเฉพาะวันเสาร์-วันอาทิตย์
- ผู้จบ ปวส. ในหลักสูตรต่อเนื่องหรือหลักสูตรเทียบโอน
- ภาคปกติ เรียนในเวลาราชการและวันเสาร์ – วันอาทิตย์
- ภาคพิเศษ เรียนเฉพาะเสาร์-อาทิตย์ และเรียนเฉพาะอาทิตย์วันเดียว
- หลักสูตรปริญญาตรี ควบปริญญาโท (เงื่อนไขตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด)
- หลักสูตรภาษาอังกฤษ หรือนานาชาติ
- ศึกษาข้อมูลและรายละเอียดของมหาวิทยาลัย ว่ามีความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน หรือไม่ ? เพื่อได้จะขอคำปรึกษาระหว่างเรียน และวางเส้นทางหลังเรียนไปสู่ยังอาชีพโลจิสติกส์ในอนาคตได้
- ค่าใช้จ่าย ลองคำนวณค่าใช้จ่ายเป็นปัจจัยหลัก ตลอดระยะเวลาในการเข้าศึกษาต่อจนจบการศึกษา เพียงพอหรือไม่ ?
- ค่าเทอม ค่าเล่าเรียน ค่าหน่วยกิต
- ค่าเอกสารการเรียน (ค่าหนังสือ ค่าตำราเรียน ค่าชีท)
- ค่าใช้จ่ายนอกเหนือแผนที่วางไว้ ค่ากิจกรรมต่างๆ (ค่าบำรุงคณะ / เงินสาขา ฯลฯ)
- ค่าหอพักนักศึกษา หรือหอนอกใกล้ ๆ บริเวณมหาวิทยาลัย
- พวกอุปกรณ์พื้นฐานที่ต้องมี เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องคิดเลข เป็นต้น
- ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนกู้ยืมระหว่างเรียน ทางมหาวิทยาลัย มีเงื่อนไขอะไรบ้าง ? ต้องจ่ายเพิ่มหรือไม่ หรือต้องจ่ายส่วนต่างเท่าไหร่ ?
- กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.)
- กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
- ศึกษาและวางแผนหาเกี่ยวกับสหกิจศึกษา ถ้าดวงดีหน่อย อาจจะมีการพูดคุยให้เริ่มทำงานหลังเรียนจบ
- สหกิจศึกษา คือ ระบบการศึกษาที่จัดให้มีการเรียนการสอนในสถานศึกษาสลับกับการไปหาประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติงานจริง ปฏิบัติงานเต็มเวลา (Full Time) ระยะเวลา 1 ภาคการศึกษา (16 สัปดาห์)
- ปรึกษารุ่นพี่ที่รู้จัก ที่กำลังเรียนอยู่ เพื่อขอคำปรึกษานำมาประกอบการพิจารณาในการเลือกที่เรียนต่อ
- ไปงานเปิดบ้าน หรือ OPEN HOUSE ที่มหาวิทยาลัยจะเปิดให้บุคคลที่สนใจเข้าไปในงาน ไปศึกษาและขอคำแนะนำหลักสูตร สาขาวิชา กับรุ่นพี่ อาจารย์โดยตรง
- เรียนโลจิสติกส์จบไป ไม่ได้ทำงานส่งของ หรือคลังสินค้าเพียงอย่างเดียว สามารถทำงานได้หลากหลายอาชีพ
- นักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ / นักวางแผนและควบคุมการกระจายสินค้า / นักวางแผนและควบคุมการจัดซื้อ / ผู้ให้บริการด้าน Freight Forwarder / ผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์ / ผู้บริหารขนส่ง / ผู้บริหารคลังสินค้า / ตัวแทนขนส่งสินค้าทางบก ทะเล และอากาศ / นักวิเคราะห์ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน / นักวางแผนวัตถุดิบ การผลิต หรือการกระจายสินค้า / นักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ /นักวิจัย/นักวิชาการด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน / นักวิจัย/นักวิชาการด้านการจัดการการปฏิบัติการ / อาจารย์หรือนักวิชาการประจำสถาบันต่าง ๆ / เจ้าของกิจการและผู้ประกอบอาชีพอิสระทางธุรกิจ /ผู้บริหารองค์กรภาครัฐและเอกชนในระดับสูง /นักวิจัยทางด้านบริหารธุรกิจของหน่วยงานต่างๆ หรือ นักวิจัยอิสระ / ที่ปรึกษาทางธุรกิจนักวางแผนและควบคุมการขนส่ง