เฟดเอกซ์ เอกซ์เพรส (, FedEx) บริษัทในเครือเฟดเอกซ์ คอร์ปอเรชั่น (FedEx Corp.) (NYSE: ) และผู้ให้บริการจัดส่งพัสดุรายใหญ่ที่สุดของโลก เผยผลการสำรวจชิ้นใหม่ล่าสุดที่ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มและข้อมูลเชิงลึกใหม่ๆ ในด้านพฤติกรรมการนำเข้า และส่งออกของเหล่าธุรกิจขนาดเล็กในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

รายงานวิจัยในชื่อ “Global is the New Local: The Changing International Trade Patterns of Small Businesses in Asia Pacific” ในปัจจุบันการส่งออกของธุรกิจเอสเอ็มอีสู่นอกภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้นมีอัตราส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 71% คิดเป็นอัตราการส่งออกข้ามภูมิภาคที่เพิ่มสูงขึ้นถึง 254% เมื่อเทียบกับช่วงสี่ปีที่ผ่านมา งานสำรวจชิ้นนี้ยังชี้ให้เห็นอีกว่า ไม่เพียงแต่การนำเข้าและส่งออกข้ามภูมิภาคจะมีรูปแบบที่แตกต่างไปจากเดิม แต่จำนวนการนำเข้าและส่งออกข้ามประเทศภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเองก็เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในรอบสามปีที่ผ่านมา

งานวิจัยระบุให้เห็นถึงรูปแบบการทำการค้าสากลที่เปลี่ยนแปลงไป การส่งออกไปยังประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกันที่ในอดีตเคยมีอัตราสูงเด่นที่สุดนั้น วันนี้กลับไม่มีบทบาทเท่าเดิมเนื่องจากการส่งออกไปยังนอกภูมิภาค (71%) มีอัตราสูงพอๆ กับการส่งออกภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (70%)

นอกจากนั้น ธุรกิจเอสเอ็มอีในเอเชียแปซิฟิกที่จำเป็นต้องนำเข้าวัตถุดิบจากนอกประเทศ ปัจจุบันมีจำนวนถึง 62% ที่นำเข้ามาจากภูมิภาคอื่น เพิ่มสูงขึ้นจากอัตรา 26% ในปี 2558 อย่างเห็นได้ชัด ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small- and Medium-size Enterprises, SME) ในเอเชียแปซิฟิกที่อยู่ในภาคการส่งออกต่างลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ และใช้ประโยชน์จากรูปแบบเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเต็มที่เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจ เอสเอ็มอีจำนวนมากต่างยอมรับและปรับใช้เทคโนโลยีอุตสาหกรรม 4.0 โดยคาดว่าจะมีผู้หันมาใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอีก 12 เดือนข้างหน้า

ในส่วนของประเทศไทย ผลสำรวจจากศูนย์เศรษฐกิจและธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยเผยให้เห็นว่า ในปี 2561 เศรษฐกิจดิจิทัลของไทยเติบโตขึ้นราว 20% และคาดว่าในปีนี้จะเติบโตเพิ่มขึ้นอีกเป็น 24.6% พร้อมกันนี้ (สสว.) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ดูแลและส่งเสริมกิจการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้จัดสรรงบประมาณจำนวนสูงถึง 1.2 พันล้านบาท (37 ล้าน เหรียญสหรัฐ) ในปี 2561 เพื่อสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมเอสเอ็มอีให้มีความเติบโต ทั้งในส่วนของผู้ลงทุนและผู้กำหนดนโยบาย ตลอดจนผลักดันให้เกิดพัฒนาการด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีคอมเมิร์ซ

ทั้งนี้ สสว. มีเป้าหมายที่จะยกระดับการตระหนักรู้ของเอสเอ็มอีในเรื่องเศรษฐกิจดิจิทัล และการใช้ประโยชน์จากเครื่องมือดิจิทัลต่างๆ เพื่อช่วยลด และช่วยส่งมอบประสบการณ์โดยรวมที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้า

รายงานข้อมูลเชิงลึกชิ้นนี้ ร่วมกับแรงขับเคลื่อนของรัฐบาลไทยในการสนันสนุนเอสเอ็มอี แสดงให้เห็นว่าการค้าออนไลน์กำลังจะพลิกโฉมหน้ารูปแบบการทำธุรกิจของโลกใบนี้ โดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นตัวพลักดันอยู่เบื้องหลัง ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังคงเป็นผู้นำระดับโลกในเรื่องอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนแบบ โดยมียอดการค้าในไตรมาสแรกของปี 2561 คิดเป็น 40% ของยอดขายอีคอมเมิร์ซจากทั่วโลก”

อีคอมเมิร์ซยังคงเป็นหัวใจสำคัญในการกำหนดรูปแบบพฤติกรรมการนำเข้าและส่งออก โดยเอสเอ็มอีในเอเชียแปซิฟิกจำนวนสูงถึง 82% ใช้อีคอมเมิร์ซ (สูงขึ้นจาก 79% ในปี 2559) และ 58% ในจำนวนนี้ใช้อีคอมเมิร์ซเพื่อเป็นลู่ทางในการหารายได้ใหม่ๆ โดยใช้การส่งออก

ในประเทศไทย รายได้จากอีคอมเมิร์ซในปี 2561 ทั้งสิ้นมีจำนวน 7.03 พันล้านบาท[4] และคาดว่าจะสูงขึ้นอีกโดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปี (ปี 2561-2565) อยู่ที่ 13.2% ด้วยหลักการข้อหนึ่งของไทยแลนด์ 4.0 ที่ว่า “จะสร้างความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจผ่านระบบเศรษฐกิจมูลค่าเพิ่มที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี และการสร้างสรรค์” จึงทำให้เอสเอ็มอีไทยหลายรายเริ่มลงทุนในเทคโนโลยีดิจิทัล โดยหวังว่าจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและต่อยอดให้ธุรกิจเติบโตต่อไปในต่างแดนได้

“งานวิจัยชิ้นนี้ยืนยันความเชื่อที่เรามีมาโดยตลอดว่า สำหรับเอสเอ็มอีแล้ว เทคโนโลยีและโซลูชั่นมีส่วนช่วยอย่างยิ่งในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันกับธุรกิจที่มีขนาดใหญ่กว่า” จีน่า แกลวิน กล่าวเสริม
“เอสเอ็มอีหลายรายเริ่มมองหา เพื่อให้มีส่วนช่วยในการปรับรูปแบบธุรกิจให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพื่อช่วยในเรื่องการเจาะเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ ในต่างแดน และสุดท้าย เพื่อช่วยสร้างความมั่นใจว่า ธุรกิจของพวกเขาจะยังคงรักษาไว้ซึ่งความสามารถในเชิงการแข่งขันและเติบโตอย่างยั่งยืน”

งานสำรวจและวิจัยนี้ถูกจัดทำขึ้นโดย Harris Interactive สนับสนุนโดยเฟดเอกซ์ เพื่อศึกษาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับโอกาสสำหรับการส่งออกในตลาดโลก และความท้าทายต่างๆ ที่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต้องเผชิญ การสำรวจเสร็จสิ้นในปีนี้ และเป็นผลมาจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารทั้งสิ้นจำนวน 4,543 รายใน 9 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน และเวียดนาม ขนาดสำรวจอยู่ที่ราว 500 คนต่อตลาดจากกลุ่มตัวอย่างที่มีความหลายหลายด้านขนาดของธุรกิจ โดยธุรกิจขนาดใหญ่ที่สุดในการสำรวจมีพนักงานประจำทำงานเต็มเวลาจำนวนไม่เกิน 249 คน

เกี่ยวกับงานศึกษาวิจัย

Harris Interactive ทำการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงในธุรกิจเอสเอ็มอีผ่านทางออนไลน์และทางโทรศัพท์ จำนวน 4,543 คน ใน 17 ตลาด ครอบคลุมสี่ภูมิภาคทั่วโลก ในระหว่างเดือนมีนาคมและเมษายน 2561 การสัมภาษณ์ถูกแบ่งสรรออกตามประเทศในจำนวนเท่าๆ กัน โดยสอบถามตัวแทนในบริษัทขนาดแตกต่างกันออกไป กล่าวคือ ขนาดเล็ก (มีพนักงานประจำทำงานเต็มเวลาจำนวน 1-9 คน) ขนาดย่อม (มีพนักงานประจำทำงานเต็มเวลาจำนวน 10-49 คน) และขนาดกลาง (มีพนักงานประจำทำงานเต็มเวลาจำนวน 50-249 คน) ขนาดสำรวจอยู่ที่ราว 500 คนต่อตลาด

#PRnewFedEx Express