การบริหารจัดการยาคงคลังในโรงพยาบาล

ซึ่งจะกล่าวในประเด็น ต้นทุนที่แฝงตัวอยู่ในคลังสินค้ายา ประเภทยาอายุสั้น (Short Expire date) ยาเสื่อมสภาพ ยาที่มีอัตราการใช้น้อย (Slow moving rate) รวมทั้งยาที่รับคืนจากผู้ป่วย เนื่องจากเกิดอาการที่ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา หรือแพทย์เปลี่ยนการรักษา

นอกจากการบริหารต้นทุนของยาที่เก็บรักษาแล้ว คลังยาและเวชภัณฑ์จะต้องคำนึงถึงรายการยาที่มีอายุสั้น เสื่อมสภาพ ชำรุด ไม่สามารถนำไปจ่ายให้ผู้ป่วยได้ ซึ่งรายการยาเหล่านี้ล้วนเป็นต้นทุนของยาคงคลังซึ่งจะต้องดูแลในการจัดเก็บเป็นพิเศษโดยการแยกพื้นที่จัดเก็บ ทำให้สิ้นเปลืองพื้นที่ของคลังยา และต้องระมัดระวังในการจ่ายยาอาจเกิดความผิดพลาดในการจ่ายยา ก่อให้เกิดผลกระทบกับผู้ป่วยและเสี่ยงต่อชื่อเสียงของโรงพยาบาล

ดังนั้น ทางคลังยาควรจะต้องมีผู้รับผิดชอบในการดูแลและตรวจสอบรายการยาเหล่านี้ สิ่งที่ต้องทำคือการแยกพื้นที่ในการจัดเก็บมีการติดป้ายบ่งชี้ไว้อย่างชัดเจน รวมทั้งจะต้องแยกคลังในระบบคอมพิวเตอร์ไว้ด้วย (Quarantine Store) เพื่อที่จะสะดวกต่อการดูยอดคงเหลือ (On-hand) ของรายการยาที่จะต้องทำการสั่งซื้อ จะได้ไม่สับสนและสามารถที่จะตรวจสอบรายการยาที่รอส่งแลกเปลี่ยนกับบริษัทผู้ขายได้

แต่อย่างไรก็ตามการที่มียาที่ไม่สามารถนำไปจ่ายให้ผู้ป่วยได้ ย่อมทำให้เกิดต้นทุนที่สูญเสีย ควรหาแนวทางในการลดความสูญเสียดังกล่าว และแนวทางร่วมกันทุกส่วนในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสั่งจ่ายยา ควรมีการตรวจสอบอายุยาในทุกจุดบริการ มีการส่งต่อข้อมูลกัน เช่น แผนกไหนใช้ยารายการใดน้อยมีโอกาสที่ยาจะหมดอายุหรือเสื่อมสภาพก็ทำโอนรายการยานั้นให้กับแผนกที่ใช้ปริมาณมาก (Transfer Stock) เป็นต้น

ในการาของคลังยาคงต้องทำร่วมกันทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ต้องมีคณะกรรรมการที่ดูแลเรื่องการนำยาเข้ามาใช้ในโรงพยาบาล (PTC : Pharmacy and Therapeutic Committee) ในเรื่องการลดจำนวนรายการยาที่มีอยู่ในโรงพยาบาล เช่น การตัดรายการยาที่มีข้อบ่งใช้ในการรักษาเหมือนกัน อาจจะมีเพียงแค่ 1-2 รายการของยานั้น ๆ ได้แก่ ยาที่เป็น Generic (Local made) กับยาที่เป็น Original (Import) ก็พอ มีการทบทวนรายการยาที่มีอัตราการเคลื่อนไหวน้อย (Slow moving rate) และยาที่ไม่มีอัตราการใช้เลย ()

สรุปประเด็นที่น่าสนใจ
ในการบริหารสินค้ายาคงคลังจะประสบผลสำเร็จเป็นไปตามเป้าหมายที่ผู้บริหารกำหนดไว้นั้น ขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น การมีระบบสารสนเทศที่ช่วยในการบริหารข้อมูล เช่น : Enterprise Resource Planning เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน (Real ) การใช้กลยุทธ์หรือวิธีการการต่างๆ ในการบริหารยาคงคลังร่วมกัน ได้แก่ Analysis, Min-Max Planning VEN Drugs (Vital, Essential, Non-Essential) ซึ่งเป็นการแบ่งกลุ่มยาที่มีความสำคัญในการช่วยชีวิตผู้ป่วย , ยาที่จำเป้นต่อการรักษากรณีเจ็บป่วยไม่รุนแรง และยาทั่วไปสำหรับการเจ็บป่วยเล็กน้อย

อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่สุดในการบริหารยาคงคลังคือ การสร้างความสัมพันธ์กับหน่วยงานภายในองค์กรเอง และการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับบริษัทคู่ค้า (Supplier) รวมทั้งคู่แข่งทางธุรกิจ (โรงพยาบาลต่างๆ) ถ้าทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมมือร่วมใจกัน มีการสื่อสารกันแบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกัน โดยนึกถึงผลประโยชน์ขององค์กรเป็นสำคัญ นึกถึงผู้ป่วยมาเป็นอันดับแรก จะทำให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพ และเป็นที่หนึ่งในใจของผู้รับบริการทุกคน

ในยาคงคลัง

  • ประเภทยาอายุสั้น (Short Expire date)
  • ยาที่มีอัตราการใช้น้อย (Slow moving rate)
  • ยาที่ไม่มีอัตราการใช้เลย (Dead stock)
  • สัมพันธภาพที่ดีกับบริษัทคู่ค้า (Supplier)
  • ยาจะหมดอายุหรือเสื่อมสภาพก็ทำโอนรายการยานั้นให้กับแผนกที่ใช้ปริมาณมาก (Transfer Stock)

ท้ายที่สุดขอขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตาม แล้วพบกันใหม่กับบทความที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร โดยเฉพาะการขนส่งยานะคะ

บทความ : อาจารย์ทัศนีย์ มีศิริ มหาวิทยาลัย