เนื้อหา มีอะไรบ้างนะ!
Q&A ที่เหมาะสำหรับการอ่านสอบและทำการบ้าน
Q1: ทำไมคลังสินค้าจึงมีความสำคัญต่อแผนกต่างๆ ภายในองค์กร?
A1: คลังสินค้ามีบทบาทสำคัญในการรวบรวมและจัดการวัสดุทุกประเภท ซึ่งสนับสนุนการดำเนินงานของแผนกต่างๆ ในองค์กร วัสดุที่จัดเก็บในคลังสินค้าเรียกว่า “สินค้าหรือวัสดุคงคลัง (Inventory)” ซึ่งจำเป็นสำหรับการผลิต การจัดส่ง และการบริการต่างๆ เพื่อให้แผนกต่างๆ สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Q2: ความสัมพันธ์ของคลังสินค้า (Warehouse) กับกิจกรรมโลจิสติกส์อื่นๆ เป็นอย่างไร?
A2: คลังสินค้าจะมีความสัมพันธ์ที่สำคัญกับกิจกรรมโลจิสติกส์อื่นๆ เช่น การจัดการซัพพลายเชน การขนส่ง และการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง ซึ่งส่งผลต่อการวางแผนและการจัดการการผลิต โดยคลังสินค้าจะเป็นจุดรวบรวมและจัดเก็บวัสดุที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการจัดส่ง
Q3: สถานะของวัสดุในคลังสินค้าแบ่งออกเป็นกี่ประเภท?
A3: วัสดุในคลังสินค้าสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลักๆ ได้แก่:
- วัตถุดิบและวัสดุใช้สอย (Raw Material and Supplies): วัสดุที่รอการนำเข้าผลิต ยังไม่ได้แปลงสภาพ
- งานระหว่างทำ (Work in Process): วัสดุที่กำลังอยู่ในกระบวนการผลิต
- สินค้าสำเร็จรูป (Finished Goods & Products): ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการแปลงสภาพแล้วและพร้อมจำหน่าย
- วัสดุสิ้นเปลือง (Consumables): วัสดุที่ใช้แล้วหมดไป เช่น ถุงมือและผ้าเช็ดมือ
Q4: การควบคุมวัสดุมีข้อดีอย่างไร?
A4: การควบคุมวัสดุมีข้อดีหลายประการ ได้แก่:
- ลดความสูญเปล่าจากการใช้วัสดุ
- ลดต้นทุนและเงินทุนที่ใช้ในการจัดเก็บวัสดุ
- ลดความเสียหายจากการจัดเก็บและการสูญหาย
- ลดปัญหาการขาดแคลนวัสดุ
- ทำให้การคำนวณต้นทุนวัสดุแม่นยำมากยิ่งขึ้น
Q5: หน่วยงานการควบคุมวัสดุมีความรับผิดชอบอะไรบ้าง?
A5: หน่วยงานการควบคุมวัสดุมีความรับผิดชอบดังนี้:
- แสวงหาราคาวัสดุที่เหมาะสม
- คัดเลือกซัพพลายเออร์ด้วยวิธีการที่เหมาะสม เช่น QCDEM (Quality, Cost, Delivery, Engineering, Management)
- กำหนดปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสม
- จัดระบบการสั่งซื้อให้สามารถทำงานร่วมกับแผนกต่างๆ ได้อย่างราบรื่น
หัวใจหลักของความสัมพันธ์คลังสินค้า (Warehouse) กับแผนกต่างๆ ภายในองค์กร มีความสำคัญต่อสินค้าหรือวัสดุคงคลัง (Inventory)
หน้าที่ของคลังสินค้า มีสำคัญเป็นอย่างมากและมีความสัมพันธ์กับแผนกต่างๆ ภายในและภายนอกองค์กร เนื่องจากเป็นจุดรวบรวมวัสดุทุกประเภทเพื่อรองรับการสนับสนุนทุกแผนกให้สามารถดำเนินงานได้ ซึ่งวัสดุที่มีการจัดเป็นถูกเรียกว่า “สินค้าหรือวัสดุคงคลัง (Inventory)”
และหากพิจารณาการจัดการคลังสินค้าเป็นกิจกรรมโลจิสติกส์ก็จะสามารถพิจารณาเห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมอื่นๆ ได้ดังนี้
ความสัมพันธ์ของ Warehouse ต่อกิจกรรม logistics อื่นๆ
สถานะของ Inventory หรือ วัสดุคงคลังแบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆ ได้ดังนี้
- วัตถุดิบและวัสดุใช้สอย (Raw material and Supplies) เป็นวัสดุที่รอนำเข้าผลิต ยังไม่ได้ถูกแปลงสภาพ เมื่อมีการเบิกใช้จะถูกตัดยอดไปอยู่ในส่วนงานระหว่างทำ
- งานระหว่างทำ (Work in process) จะเป็นวัสดุที่กำลังอยู่ในกระบวนการผลิตหรือกำลังถูกแปลงสภาพ เมื่อผลิตเสร็จแล้วก็จะออกมาเป็นสินค้าสำเร็จรูป และจะถูกส่งและโอนยอดไปเป็น Finish good
- สินค้าสำเร็จรูป (Finish good & Product) เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ผ่านการแปลงสภาพแล้ว ถูกจัดเก็บอยู่ในคงคลังสินค้าสำเร็จรูป รอที่จะจำหน่าย
วัสดุถูกแบ่งออกเป็น 4 ประเภท
- วัตถุดิบหรือวัสดุการผลิต มีความสำคัญที่สุดต่อสายการผลิต หากขาดจะทำให้ไม่สามารถผลิตต่อได้ เช่น เม็ดพลาสติก ซึ่งต้องใช้ในกระบวนการ Injection ฉีดขึ้นรูป เป็นต้น
- วัสดุสนับสนุนการผลิต มีส่วนให้สายการผลิตทำงานได้ เช่น ใน Line welding ก็จะมีลวดเชื่อม Line cutting ก็จะมีใบมีดตัดเหล็กตัดท่อ เป็นต้น
- วัสดุส่งเสริมการผลิต เช่น อุปกรณ์ตรวจสอบชิ้นงานจำพวกจิ๊ก ฟิกซ์เกอร์ เป็นต้น
- วัสดุสิ้นเปลืองหรือวัสดุใช้สอย เป็นวัสดุที่ใช้แล้วหมดไปเปล่าๆ โดยไม่เกิดผลผลิต เช่น ถุงมือ ผ้าเช็ดมือ เป็นต้น
การควบคุมวัสดุ (Material control) วัสดุถือเป็น Current asset เป็นสินทรัพย์หมุนเวียน สามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ โดยแบ่งสภาพคล่องเป็นดังนี้
- Raw material และ Finish good มีสภาพคล่องที่ดีที่สุด เพราะ Raw material สามารถนำไปแปลงสภาพได้ง่าย ส่วน Finish good ก็ถือว่าเป็นสินค้าสำเร็จรูปสามารถขายได้
- Work in process มีสภาพคล่องน้อยที่สุด เพราะมีการนำ Raw material มาแปลงสภาพแล้ว แต่ยังไม่เป็น Finish good ซึ่งจะเป็นสินค้าที่ยังผลิตไม่เสร็จ การนำไปใช้ต่อจึงเป็นไปได้ยาก
เพราะฉะนั้นในอุตสาหกรรมจึงพยายามที่จะให้มี Work in process น้อยที่สุด แต่อย่างไรก็ตามยังจำเป็นจะต้องมี - Work in process ไว้บางส่วน เพื่อให้สามารถต่องานได้ในวันถัดไปหรือในช่วงเวลางานถัดไป เพื่อไม่ให้เกิดการรอระหว่างรอยต่อของกระบวนการทำงานตามลำดับขั้น
ข้อดีของการควบคุมวัสดุ
- ลดความสูญเปล่าจากการใช้
- ลดเงินทุนและต้นทุนวัสดุคงคลัง
- ลดความเสียหายจากการจัดเก็บ การสูญหาย
- ลดปัญหาการขาดแคลนวัสดุ
- ทำให้การคำนวณต้นทุนของวัสดุมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น
ความรับผิดชอบของหน่วยงานการควบคุมวัสดุ
- แสวงหาราคาวัสดุที่เหมาะสมกับรายการที่ขอสั่งซื้อ
- คัดเลือก Supplier ด้วยวิธีการที่เหมาะสม เช่น หลัก QCDEM
- Q = Quality คุณภาพต้องดีตามมาตรฐานที่รับได้
- C = Cost ต้นทุนด้านราคาต้องเหมาะสม
- D = Delivery การจัดส่งจะต้องทำได้ดีแม้ในกรณีฉุกเฉิน
- E = Engineering มีการผลิตและ Technology ที่ดี
- M = Management มีการจัดการคำสั่งซื้อและการจัดการ
ภายในที่ดี
- กำหนดปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสมกับปริมาณการใช้ และค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น
จัดระบบการสั่งซื้อให้การทำงานระหว่าง Supplier, Quality control, Planning, Production, Warehouse และ - Account ทำงานร่วมกันได้โดยไม่มีปัญหา
บทความ : ดร.ธีวินท์ นฤนาท นักวิชาการ ที่ปรึกษาธุรกิจและโลจิสติกส์
[…] […]