สาขา

  • เรียนรู้การวางแผนการ การจัดเก็บและควบคุมสินค้า การ การจัดการศูนย์กระจายสินค้า การบรรจุภัณฑ์ การส่งมอบสินค้า การติดต่อทำธุรกิจระหว่างประเทศ
  • และที่เกี่ยวข้องกัน เช่น กิจกรรมการขนส่ง กิจกรรมการส่งมอบสินค้าแบบทันเวลา () กิจกรรมการจัดเก็บสินค้าและคลังสินค้า ( and warehouse) กิจกรรมการกระจายสินค้าและบริการไปจนถึงลูกค้าคนสุดท้าย
  • กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มมูลค่าและเพิ่มผลผลิต (การส่งมอบสินค้าให้ทันเวลาและอย่างมีประสิทธิภาพ  ช่วยประหยัดต้นทุนและพลังงานในการขนส่ง รวมถึงการบริการให้ลูกค้าพึงพอใจ และรวมไปถึงกิจกรรมการเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตถึงผู้บริโภค
  • โอกาสการทำงาน
    • หน่วยงานฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดส่งและคลังสินค้า ฝ่ายควบคุมวัตถุดิบ ฝ่ายโลจิสติกส์/โซ่อุปทาน ฝ่ายการขนส่ง
    • บริษัททั่วไปที่มีแผนกนำเข้าและส่งออก บริษัทตัวแทนขนส่งสินค้าทางทะเลหรือทางอากาศ การท่าเรือแห่งประเทศไทย ท่าเรือหรือท่าเทียบเรือของเอกชน บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบการสถานีพักสินค้าได้แก่ บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัทการบินกรุงเทพฯ จำกัด รวมทั้งรับราชการในกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี กรมประมง กรมการขนส่งทางอากาศ กรมศุลกากร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    • นักวิเคราะห์ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน นักวางแผนวัตถุดิบ การผลิต หรือการกระจายสินค้า และนักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ
    • ประกอบธุรกิจส่วนตัว

สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์

  • เน้นการ ออกแบบ (Design) กระบวนการจัดการ ธุรกิจอุตสาหกรรม โรงงาน เช่น การออกแบบคลังสินค้า การออกแบบระบบการขนส่ง การกระจายสินค้า ฯลฯ เน้นการคิดอย่างเป็นระบบและแก้ไขปัญหา
  • โอกาสการทำงาน
    • ผู้จัดการโครงการ ผู้จัดการโรงงาน และผู้บริหารหน่วยงาน
    • วิศวกรออกแบบระบบงานโลจิสติกส์ วิศวกรวางแผนการผลิต ออกแบบคลังสินค้า
    • วิศวกรควบคุมคุณภาพ
    • วิศวกรออกแบบและวางระบบการวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร
    • อาจารย์
    • ที่ปรึกษา

สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ

  • เรียนรู้การดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศในด้านการจัดการ การตลาด การเจรจาต่อรอง กฏหมายการค้าระหว่างประเทศ กลยุทธ์และการจัดการธุรกิจ และการดำเนินธุรกิจข้ามภาษาและวัฒนธรรม
  • โอกาสการทำงาน 
    • หน่วยงานรัฐ เช่น กรมส่งเสริมการส่งออก กรมการค้าต่างประเทศ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงอุตสาหกรรม คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ธนาคารเพื่อการส่งออกและการนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ฯลฯ
    • หน่วยงานภาคเอกชน เช่น บริษัทส่งออก นำเข้า บริษัทการค้าระหว่างประเทศ บริษัทเดินเรือ ตัวแทนขนส่งสินค้าทางเรือและทางอากาศ (Freight Forwarder) บริษัทชิปปิ้ง ผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์ สายการบิน ฝ่ายส่งออกนำเข้าหรือฝ่ายต่างประเทศของบริษัทเอกชนรวมทั้งสถาบันการเงิน ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ เป็นต้น
    • ประกอบธุรกิจส่วนตัว เช่น ธุรกิจส่งออก นำเข้า ขนส่งสินค้า ตัวแทนขนส่งสินค้า

สรุป 3 สาขาที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์

  • สาขาการจัดการโลจิสติกส์ หรือสาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เน้นการวางแผน วิเคราะห์ คำนวณ
  • สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์ เน้นการออกแบบ คิดอย่างเป็นระบบ คำนวณ
  • สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ เน้นภาษา เรียนรู้การดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศในด้านการจัดการ
[notification type=”alert-info” close=”false” ]ข้อมูลเพิ่มเติม : โลจิสติกส์ เรียนที่ไหนดี! มีที่ไหนบ้าง[/notification]

แหล่งอ้างอิง : https://www.spu.ac.th/fac/intl/th/program/112/ http://www.spu.ac.th/business/courses/bachelors/intenational-business http://www.bu.ac.th/business/curriculum/bachelor/inter/career-opportunities/https://www.spu.ac.th/fac/logistics/th/programs.phphttp://www.dpu.ac.th/business/logistics-supply-chain.htmlhttps://engineer.utcc.ac.th/?p=department&of=logisticshttp://www.dpu.ac.th/engineering/ML.html