EEC คืออะไร ?
EEC คือ โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือย่อมาจาก Eastern Economic Corridor Development : EEC) ของการจัดทำแผนยุทธศาสตร์กระทรวงคมนาคม เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560-2564)
เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการพัฒนาประเทศภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 เน้นการขับเคลื่อนเทคโนโลยีและนวัตกรรม มีขอบเขตอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดนำร่อง คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ซึ่งเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมหลักของประเทศ
อุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมในโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก เป็นการส่งเสริม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curve industries)
5 อุตสาหกรรมเดิม (First S-Curve)
- อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต สนับสนุนการพัฒนาเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าขยายธุรกิจในห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมยานยนต์โดยเฉพาะการออกแบบและจัดทำต้นแบบส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่มีประสิทธิภาพและความแม่นยำสูง
- อุตสาหกรรมอิเลกทรอนิกส์อัจฉริยะ การผลิตระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในยานยนต์ อุปกรณ์โทรคมนาคม การออกแบบที่อยู่อาศัยอัจฉริยะ ซึ่งเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสวมใส่
- การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพระดับสูง เทคโนโลยีการเกษตรขั้นสูง ที่มีการใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอัตโนมัติ การวิจัยและการลงทุนทางเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์
- อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร การเพิ่มมาตรฐานการตรวจสอบย้อนกลับด้านความปลอดภัยของอาหาร
การวิจัยและผลิตโภชนาเพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปที่ใช้โปรตีนทางเลือก เช่น โปรตีนเกษตร - อุตสาหกรรมท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จัดระเบียบและส่งเสริมกิจกรรมหลากหลายตามสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญสนับสนุนธุรกิจการฟื้นฟู ทางการแพทย์และศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพส่งเสริมศูนย์การแสดงสินค้าและนิทรรศการระดับนานาชาติ
อุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริม 5 อุตสาหกรรมใหม่ (New S-Curve)
- หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรมและชีวิตประจำวัน เป็นอุตสาหกรรมที่โลกมีความต้องการสูง และจะมีสัดส่วนที่ใหญ่กว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ในอนาคต เช่น หุ่นยนต์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน อาทิ การดำน้ำและการแพทย์ เป็นต้น
- อุตสาหกรรมการบิน และโลจิสติกส์ มีจำนวนเครื่องบินเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการขนส่งทางอากาศที่มากขึ้นสนามบินอู่ตะเภา จะได้รับการยกระดับเป็นสนามบินนานาชาติการพัฒนาศูนย์ซ่อมอากาศยาน และฝึกอบรบเมื่อผสานกับสนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิจะส่งผลให้ประเทศไทย กลายเป็นศูนย์กลางทางการบินของภูมิภาคเอเชีย
- อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร สนับสนุนแพทย์และพยาบาลที่มีความรู้ความสามารถ โรงพยาบาลที่ทันสมัย
การลงทุนในการผลิตยา อุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมถึงการรักษาโรคทางไกล ผ่านอินเทอร์เน็ต / สมาร์ทโฟน เป็นต้น - อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ เป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านการเกษตรใหญ่ที่สุดในอาเซียนจึงพัฒนาอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพครบวงจร เช่น ใช้ไบโอพลาสติกในการหีบห่อและบรรจุภัณฑ์เพื่อการส่งออก เป็นการก้าวเข้าสู่ Bioeconomy
- อุตสาหกรรมดิจิทัล ทั่วโลกมีความต้องการสูงมาก และเป็นมาตรฐานใหม่ในการดำรงชีพ เช่น E-commerce / Digital Content / Data Center / Cloud Computing / Internet of Things
ทำไม EEC ถึงเกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ ?
โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) เป็นจุดศูนย์กลางในระดับโลกทั้งด้านการ ลงทุนและสถานที่ท่องเที่ยว เป็นฐานอุตสาหกรรมด้านพลังงาน และโครงสร้างพื้นฐานประกอบด้วย
- โรงกลั่นน้ำมันมันขนาดใหญ่ 5 โรง
- กลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มปิโตรเคมี 3 แห่ง
- โรงผลิตไฟฟ้า 20 โรง
- นิคมอุตสาหกรรม 29 แห่ง
เชื่อมโยงด้วยโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งที่เพียบพร้อม ระยะทาง 200 กม. จาก กรุงเทพฯ เชื่อมผ่านเส้นทางสายหลัก, ท่าเรือ พาณิชย์แหลมฉบัง, สนามบินอู่ตะเภา และ ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด
อุตสาหกรรมภายในโครงการ EEC ที่จะมีปริมาณ และจำนวนเพิ่มขึ้น จึงจำเป็นต้องอาศัยช่องทางการกระจายสินค้าเข้า – ออกที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะทั้งทางบก (ระบบถนน และระบบราง) ทางนํ้า และทางอากาศ
รัฐบาลจึงได้มีแผนพัฒนาโดยเฉพาะการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 และการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาให้เป็นสนามบินนานาชาติแห่งที่ 3 เพื่อรองรับปริมาณสินค้า และปริมาณของนักท่องเที่ยวที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี
ด้านการศึกษาที่ส่งผลกระทบต่อ EEC
รัฐบาลให้ความสำคัญและสนับสนุนการผลิตและพัฒนากำลังคนตามโดยกำหนดไว้ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี โอกาสให้สถาบันอุดมศึกษาจากต่างประเทศ ได้แก่ มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน (Carnegie Mellon University : CMU) สหรัฐอเมริกา ร่วมจัดการศึกษากับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ในรูปแบบสถาบันร่วม (Joint Institute) ภายใต้ชื่อ มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล
และจัดทำร่างแผนพัฒนาบุคลากรการศึกษา การวิจัย และเทคโนโลยี โครงการจัดทำแผนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ.2560-2564 ในครั้งนี้ ขอให้พิจารณาจากความต้องการของอุตสาหกรรมเป้าหมายเป็นหลัก เพื่อผลิตบุคลากรให้ตรงสาขาวิชา มีทักษะสมรรถนะ ตลอดจนมีจำนวนพอเพียง
ผลิตครู / วิทยากรต้นแบบอุตสาหกรรมเป้าหมาย อย่างน้อย 150 คน เด็กและเยาวชนได้รับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ หุ่นยนต์ ระบบสารสนเทศ ฯลฯ ไม่ต่ำกว่า 40,000 คน รวมทั้งจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้และศูนย์บริการอย่างน้อย 10 ศูนย์ และฝึกอบรมกว่า 60 หลักสูตรภายใน 2 ปี และบุคลากรภาครัฐ/เอกชนผ่านอบรมไม่น้อยกว่า 42,000 คน, ผลิตกำลังคนอาชีวศึกษารองรับ EEC มากกว่า 40,000 คนภายใน 5 ปี
ด้านการศึกษาของ 3 จังหวัดนำร่อง
- 1. จังหวัดฉะเชิงเทรา มีแผนที่จะจัดแผนการศึกษาใน
ทุกระดับชั้นให้สอดคล้องกับ ความก้าวหน้าทางนวัตกรรม จัดอบรมบุคลากรทางการศึกษา ไม่ว่าจะครู อาจารย์ ให้เข้าใจเรื่องเศรษฐกิจแบบครบวงจร - 2.จังหวัดชลบุรี ส่งเสริมทักษะด้านการงานอาชีพ ปลูกฝังให้เจ้าของธุรกิจรุ่
นใหม่รักสิ่งแวดล้อม สร้างผู้นำด้านโลจิสติกส์ สร้างนักวิจัย นักพัฒนา ผลักดันให้ที่นี่เป็นศูนย์ก ลางการศึกษานานาชาติ และพัฒนาการศึกษาให้รองรับ EEC ทั้ง 4 ระดับตั้งแต่ ปฐมวัย, ขั้นพื้นฐาน, มัธยม/อาชีวศึกษา, อุดมศึกษา - 3. จังหวัดระยอง เน้นให้นักเรียน นักศึกษา สามารถประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือสามารถสร้างธุรกิจเป็นข
องตัวเองได้ เน้นปูพื้นฐานทางอุตสาหกรรม ทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ รวมถึงสนับสนุนงานวิจัยที่ต อบโจทย์การพัฒนาพื้นที่ EEC
เรียนจบสาขาโลจิสติกส์ สามารถทำงานอะไรได้บ้างที่ ECC
- 1. เจ้าหน้าที่จัดซื้อ
- 2. เจ้าหน้าที่วางแผนการผลิต
- 3. เจ้าหน้าที่วางแผนและประส
านงานเชื่อมโยงระบบโลจิสติก ส์ - 4. เจ้าหน้าที่คลังสินค้าและ
ศูนย์กระจายสินค้า
- 5. เจ้าหน้าที่วางแผนการขนส่
ง
- 6. เจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าใ
นธุรกิจขนส่ง
- 7. ผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตั
ว
สรุป EEC หรือโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก
ภายใต้นโยบาย Thailand 4.0 ที่ต่อยอดความสำเร็จมาจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ Eastern Seaboard ที่เคยดำเนินมาตลอดกว่า 30 ปีที่ผ่านมา
แบ่งเขตพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พื้นที่อุตสาหกรรมใหม่ และพัฒนาเขตเมืองใหม่ เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมาย ให้เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต โดยมีพื้นที่ดำเนินการ 3 จังหวัดภาคตะวันออก ได้แก่ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ซึ่งแบ่งเป็นการลงทุนใหญ่ใน 4 หมวด คือ
- การสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน, รถไฟรางคู่เชื่อม 3 ท่าเรือ
- การสร้างเมืองใหม่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เป็นต้น
- เขตนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล
- ก่อสร้างถนนมอเตอร์เวย์
หากเป็นไปตามแผนที่วางไว้คาดว่า นอกจากประเทศจะมีการลงทุน 1.5 ล้านล้านบาทใน 5 ปีแล้ว ยังจะทำให้เศรษฐกิจโต 5% ต่อปี เกิดการจ้างงานใหม่กว่า 100,000 อัตรา/ปี ลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ 400,000 ล้านบาท/ปี มีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 10 ล้านคน/ปี และได้ฐานภาษีใหม่ 100,000 ล้านบาท/ปี
อ้างอิง :
- http://eecthailand.or.th/
- http://www.eeco.or.th/
- http://eec.vec.go.th/th-th/
- http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/8922
- https://www.facebook.com/EECPlus/