คำศัพท์ในการขนส่ง (Transportation logistics vocabulary)

  1. AGENT IATA CODE รหัสตัวแทน IATA
  2. AIR WAYBILL ใบตราส่งสินค้าทางอากาศ
  3. AIRPORT OF DEPARTURE สนามบินต้นทาง
  4. AIRPORT OF DESTINATION สนามบินปลายทาง
  5. ARRIVAL NOTICE ใบแจ้งว่าเรือได้มาถึง
  6. B.A.F.(BUNKER ADJUSTMENT FACTOR) ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากค่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น เป็นค่าใช้จ่ายที่บริษัทเรือเรียกเก็บเพิ่มเติมจากค่าระวางปกติ
  7. BERTH หมายถึงท่าเทียบเรือ
  8. BILL OF LADING ใบตราส่งสินค้าทางเรือ
  9. BREAK-BULK CARRIER เรือเดินสมุทรที่ใช้ขนสินค้าที่เป็นหีบห่อหรือสินค้าที่เป็นชิ้น เช่น เหล็ก รถยนต์
  10. BULK CARGO สินค้าเทกอง คือสินค้าที่ขนส่งคราวละมากๆ โดยไม่มีภาชนะบรรจุสินค้า ใช้วิธีขนส่งโดยเทสินค้าลงในระวางเรือใหญ่ เช่น ปุ๋ย มันสำปะหลัง น้ำตาล ถ่านหิน
  11. BULK CARRIER เรือเดินสมุทรที่ใช้ขนสินค้าประเภทเทกองและสินค้าที่เป็นของเหลว
  12. C.A.F.(CURRENCY ADJUSTMENT FACTOR) ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นค่าใช้จ่ายที่บริษัทเรือเรียกเก็บเพิ่มเติมจากค่าระวางปกติ
  13. CARRIER สายการบินที่ทำการขนส่งสินค้า
  14. CARRIER'S AGENT ตัวแทนผู้รับขนส่งผู้ออกใบตราส่ง
  15. CFS (CONTAINER STATION) สถานี บรรจุ /ส่งมอบ สินค้าที่ต้นทาง ผู้ต้องนำสินค้าไปส่งมอบให้แก่ตัวแทนสายเดินเรือ ณ ที่ทำการของตัวแทนสายเดินเรือ ซึ่งตัวแทนสายเดินเรือจะทำการบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ด้วยตนเอง โดยจะต้องรับผิดชอบในสินค้าที่ได้รับจากจนกระทั่งสินค้าส่งไปถึงเมืองท่าปลายทาง ตัวแทนสายเดินเรือจะเรียกเก็บค่าบรรจุตู้(CFS Charge)จากผู้ส่งออก ที่ปลายทาง ตัวแทนเรือจะส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้นำเข้า ณ ที่ทำการหรือสถานีบริการของตัวแทนเรือ ตัวแทนเรือจะเรียกเก็บค่าเปิดตู้(CFS Charge)จากผู้นำเข้า
  16. CFS/CFS B/Lที่ระบุเช่นนี้ หมายความว่า ที่เมืองท่าต้นทางส่งออกแบบCFSที่เมืองท่าปลายทางนำเข้าแบบCFSหรือการเปิดตู้คอนเทนเนอร์ ณ ที่ทำการของตัวแทนสายเดินเรือ ผู้นำเข้าบรรทุกสินค้าไปกับรถบรรทุก
  17. CFS/CY B/Lที่ระบุเช่นนี้ หมายความว่า ที่เมืองท่าต้นทางส่งออกแบบCFSที่เมืองท่าปลายทางนำเข้าแบบCYผู้นำเข้าลากตู้คอนเทนเนอร์ไปขนถ่ายสินค้ายังสถานประกอบการของผู้นำเข้าเอง
  18. CHARGEABLE WEIGHT น้ำหนักสินค้าที่ใช้คำนวณค่าระวาง
  19. CHARTERER เรือจรเช่าเหมาลำที่ไม่มีการกำหนดเส้นทางและตารางเดินเรือที่แน่นอนตายตัว
  20. CLEAN ON BOARD / CLEAN ON BOARD เป็นคำที่ระบุใน B/Lโดยทั่วไป มีความหมายว่าเรือสินค้าได้รับของไว้บนเรือแล้ว โดยสินค้าอยู่ในสภาพที่เรียบร้อย คำว่าCleanมีความหมายว่าสินค้าอยู่ในสภาพเรียบร้อย ดังนั้นB/Lต้องไม่มีRemarkหรือหมายเหตุว่าสินค้าอยู่ในสภาพที่ไม่เรียบร้อย
  21. COMBINED TRANSPORT BILL OF LADING
    ใบตราส่งสินค้า สำหรับการขนส่งหลายวิธีซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของบริษัทเรือ เช่นขนส่งโดยเรือแล้วไปต่อรถไฟจนถึงปลายทาง
  22. CONFERENCE หมายถึงชมรมเดินเรือ เช่นชมรมเดินเรืออเมริกาเหนือ
  23. CONSIGNEE ผู้รับตราส่งสินค้า Æ กรณีซื้อขายโดยL/Cจะระบุตามแต่เงื่อนไขในL/C ว่า TO ORDERหรือระบุเป็นชื่อธนาคารผู้เปิด L/C Æ กรณีซื้อขายตรงโดยไม่ผ่านธนาคารจะระบุชื่อผู้รับสินค้าโดยตรง
  24. CONSOLIDATION การรวบรวมสินค้า หรือการรวมสินค้า โดยปกติจะกระทำโดยตัวแทนของผู้ซื้อสินค้า
  25. CONTAINER AND SEAL NO. หมายเลขตู้สินค้าและหมายเลขแถบผนึกตู้สินค้า
  26. CONTAINER CARRIER เรือเดินสมุทรที่ใช้ขนส่งสินค้าด้วยตู้สินค้า
  27. CONVENTIONAL VESSEL เรือเดินสมุทรแบบดั้งเดิมที่บรรทุกสินค้าลงในระวางเรือใหญ่โดยตรง
  28. CY (CONTAINER YARD) สถานี ส่งมอบ /รับมอบ ตู้สินค้าที่ต้นทาง ผู้ส่งออกต้องขอรับตู้คอนเทนเนอร์จากตัวแทนเรือเพื่อนำไปบรรจุสินค้าด้วยตนเอง ณ สถานประกอบการของผู้ส่งออกเอง ผู้ส่งออกจะต้องรับผิดชอบในสินค้าที่บรรจุในตู้คอนเทนเนอร์จนกระทั่งสินค้าส่งไปถึงเมืองท่าปลายทาง ตัวแทนสายเดินเรือจะระบุในB/Lว่าShipper loaded and countedแต่จะไม่เรียกเก็บค่าบรรจุตู้จากผู้ส่งออกที่ปลายทาง ตัวแทนเรือจะส่งมอบตู้คอนเทนเนอร์ให้แก่ผู้นำเข้า ณ ที่ทำการหรือสถานีบริการของตัวแทนเรือ ตัวแทนเรือจะไม่เรียกเก็บค่าเปิดตู้จากผู้นำเข้า
  29. CY/CY B/Lที่ระบุเช่นนี้ หมายความว่า ที่เมืองท่าต้นทางส่งออกแบบCYที่เมืองท่าปลายทางนำเข้าแบบCY
  30. DECLARED VALUE FOR CARRIER ราคาสินค้าที่สำแดงต่อสายการบินใน AWB
  31. DECLARED VALUE FOR CUSTOMS ราคาสินค้าที่สำแดงต่อศุลกากรใน AWB
  32. DELIVERY ORDER ใบสั่งปล่อยสินค้า
  33. DEMURRAGE CHARGE ค่าเสียเวลาของเรือ หรือค่าเสียเวลาของตู้สินค้าที่ไม่สามารถนำออกจากท่าได้ตามเวลาที่กำหนด
  34. DESCRIPTION OF GOODS รายการสินค้า
  35. DESPATCH MONEY เงินที่บริษัทเรือจ่ายตอบแทนให้แก่ผู้ใช้เรือเมื่อทำงานได้แล้วเสร็จก่อนเวลาที่กำหนด ส่วนใหญ่ใช้กับเรือจรเช่าเหมา
  36. ค่าคืนตู้สินค้าที่ช้าเกินกว่าเวลาที่กำหนด
  37. DIVERSION การขอเปลี่ยนเมืองท่าปลายทางของสินค้าในระหว่างหรือก่อนการขนส่ง
  38. DOC. FEE ค่าเอกสาร
  39. DOOR TO DOOR การรับมอบสินค้าจากสถานที่ตั้งของผู้ส่งออก และส่งมอบสินค้าไปถึงสถานที่ตั้งของผู้นำเข้า
  40. E.T.A. (ESTIMATE TIME OF ARRIVAL) ประมาณการของวันที่ที่เรือจะเข้าถึงท่าปลายทาง
  41. E.T.D. (ESTIMATE TIME OF DEPARTURE) ประมาณการของวันที่ที่เรือจะออกจากท่าต้นทาง
  42. EXECUTED ON วันที่ออกใบตราส่งใน AWB
  43. FCL (FULL CONTAINER LOAD) คือการบรรจุสินค้าจนเต็มตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งการนำเข้าหรือส่งออกแบบ CFSและCY
  44. FEU (FORTY FOOT EQUIPVALENT UNIT) ตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 40ฟุต
  45. FLIGHT/DATE เที่ยวบินและวันที่เครื่องออก
  46. FREIGHT COLLECT /PAYABLE AT DESTINATION ค่าระวางจ่ายที่เมืองท่าปลายทาง
  47. FREIGHT FORWARDER ตัวแทนผู้รับขนส่งสินค้า
  48. FREIGHT PREPAID/FREIGHT PAID ค่าระวางจ่ายที่ต้นทาง
  49. GENERAL AVERAGE (G.A.) ความรับผิดชอบในการผจญภัยร่วมกันของสินค้าที่อยู่ในเรือลำเดียวกันซึ่งขนส่งมาด้วยกัน ในกรณีที่ต้องสละสินค้าบางส่วนเพื่อความปลอดภัยของเรือและสินค้าส่วนที่เหลืออยู่บนเรือ
  50. GROSS WEIGHT น้ำหนักรวมของสินค้า
  51. HAZARDOUS GOODS สินค้าอันตราย
  52. HOUSE AIR WAYBILL ใบตราส่งสินค้าทางอากาศที่ออกให้โดย Air Freight Forwarder
  53. I.C.D. (INLAND CONTAINER DEPOT) คือสถานีตู้สินค้า ICD ที่มีพิธีการศุลกากรทั้งสินค้าขาเข้าและสินค้าขาออก เรียกว่า โรงพักสินค้าเพื่อตรวจปล่อยของขาเข้าและบรรจุของขาออกที่ขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์นอกเขตทำเนียบท่าเรือ (รพท.)ICDที่มีพิธีการศุลกากรเฉพาะสินค้าขาออก เรียกว่าสถานีตรวจและบรรจุสินค้าที่เข้าตู้คอนเทนเนอร์เพื่อการส่งออก (สตส.)
  54. IATA CARGO AGENT ตัวแทนขนส่งสินค้าทางอากาศที่ได้รับการรับรองจากสมาคมการขนส่งสินค้าทางอากาศ
  55. INLAND TRANSIT การขนส่งภายในประเทศ จะเป็นการขนส่งเพื่อนำสินค้าไปขึ้นเรือใหญ่ที่เมืองท่าต้นทาง หรือการรับส่งสินค้าจากเรือใหญ่ที่เมืองท่าปลายทางก็ได้
  56. LCL (LESS THAN CONTAINER LOAD) คือการบรรจุสินค้าไม่เต็มตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งจะเป็นการนำเข้าหรือส่งออกแบบ CFSเท่านั้น
  57. LINER เรือที่มีการกำหนดเส้นทางและตารางเดินเรือที่แน่นอนตายตัวส่วนใหญ่ได้แก่เรือคอนเทนเนอร์
  58. MANIFEST บัญชีสินค้าที่บรรทุกมากับเรือ
  59. MARK & NO. เครื่องหมายและเลขหมายหีบห่อของสินค้า
  60. MASTER หมายถึงกัปตันเรือหรือผู้ควบคุมเรือ
  61. MASTER AIR WAYBILL ใบตราส่งสินค้าทางอากาศที่ออกให้โดยสายการบิน
  62. MATE'S RECEIPT ใบรับสินค้าในเบื้องต้นจากต้นหนของเรือเดินสมุทร เป็นหลักฐานที่จะนำไปให้บริษัทตัวแทนเรือออกใบตราส่งสินค้า
  63. MEASUREMENT/ GROSS WEIGHT ขนาดของหีบห่อและน้ำหนักรวมบรรจุภัณฑ์ของสินค้า สำแดงเฉพาะยอดรวมเท่านั้น
  64. MULTIMODAL TRANSPORT DOCUMENT ใบรับสินค้าขนส่งหลายทอดหรือหลายรูปแบบ เป็นเอกสารที่ผู้รับขนส่งออกให้แทนใบตราส่งสินค้าทางเรือ ในกรณีที่สินค้าที่รับขนส่งนั้นมีการขนส่งหลายทอด เช่นขนจากโรงงานต้นทางด้วยรถยนต์ไปต่อเรือเดินสมุทรแล้วขนส่งโดยทางรถไฟที่ปลายทางอีกทอดหนึ่งจากนั้นจึงนำขึ้นรถบรรทุกไปส่งยังสถานที่ปลายทาง เป็นต้น
  65. N.V.O.C.C. (NON-VESSEL OPERATION COMMON CARRIER) คือ ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าที่ไม่ใช่เจ้าของเรือหรือไม่มีเรือเป็นของตนเอง
  66. NOTIFY PARTY ผู้รับสินค้า หรือผู้รับโอนสิทธิ์ในสินค้าจาก Consignee
  67. NUMBER OF ORIGINAL จำนวนต้นฉบับของ B/Lโดยทั่วไปจะมี3ใบ
  68. O.C.P.(OVERLAND COMMON POINT)สถานที่ส่งมอบสินค้าปลายทางที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน
  69. PLACE AND DATE OF ISSUED สถานที่และวันที่ที่ออกใบตราส่งสินค้า
  70. PLACE OF DELIVERY สถานที่สุดท้ายที่จะส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ อาจเป็นคลังสินค้า ณ เมืองท่าปลายทาง หรือคลังสินค้า /สถานที่ทำการของผู้ซื้อที่อยู่ในอีกเมืองหนึ่งหรือในอีกประเทศหนึ่งก็ได้
  71. PLACE OF LOADING สถานที่ต้นทางที่ส่งออก
  72. PLACE OF RECEIPT สถานที่รับสินค้าต้นทาง อาจเป็นคลังสินค้าของผู้ซื้อที่เมืองท่าต้นทาง หรือเป็นท่าเรือส่งออกที่ต้นทาง
  73. PORT OF DISCHARGE เมืองท่าปลายทาง /เมืองท่าที่ขนถ่ายสินค้าลงจากเรือ
  74. PORT OF LOADING เมืองท่าต้นทางที่ส่งออก
  75. PRE-CARRIER ชื่อเรือเล็กที่ขนสินค้าไปขึ้นเรือใหญ่ ณ เมืองท่าที่เรือใหญ่มารับขนถ่ายสินค้าจากเรือเล็กอีกทอดหนึ่ง
  76. QUANTITY AND KIND OF PACKAGES จำนวนและลักษณะหรือชนิดของหีบห่อ
  77. RATE CLASS อัตราค่าระวางขนส่งทางอากาศ
  78. REQUESTED ROUTING เส้นทางเดินอากาศที่ต้องการ
  79. RO-RO CARRIER เรือเดินสมุทรชนิดที่ขนสินค้าขึ้นและลงจากเรือด้วยสายพาน เช่นเรือบรรทุกรถยนต์
  80. SERENDER BILL OF LADING ใบตราส่งสินค้าที่ผู้รับใบตราส่ง สามารถขอรับใบสั่งปล่อยสินค้าที่ปลายทางได้โดยไม่ต้องใช้ใบตราส่งสินค้าต้นฉบับ
  81. SHIPPED ON BOARD เป็นคำที่ระบุใน B/Lโดยทั่วไป มีความหมายว่าเรือสินค้าได้รับของไว้บนเรือเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
  82. SHIPPER ผู้ส่งสินค้า
  83. SHIPPING AGENT / SHIP AGENT ตัวแทนเรือ
  84. SHIPPING PARTICULAR/ SHIPPING ORDER/ SHIPPING INSTRUCTION ใบจองเรือที่ผู้ส่งออกจะต้องกรอกรายละเอียดต่างๆ ด้วยตนเอง เพื่อตัวแทนสายเดินเรือจะได้นำรายละเอียดต่างๆ ไปจัดทำใบตราส่งสินค้าให้แก่ผู้ส่งออก
  85. SHUOLD BE การขอแก้ไขเอกสารและบัญชีเรือ
  86. T.H.C.(TERMINAL HANDLING CHARGE) ค่าใช้จ่ายหน้าท่า หรือค่ายกตู้สินค้า
  87. TALLY SHEET เอกสารบันทึกการรับสินค้าของตัวแทนเรือ
  88. TEU (TWENTY FOOT EQUIVALENT UNIT) ตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20ฟุต
  89. THROUGH BILL OF LADING ใบตราส่งสินค้า สำหรับการขนส่งด้วยเรือตลอดเส้นทาง
  90. UN CLASSIFICATION NUMBER หมายเลขรหัสของสินค้าอันตราย ที่เป็นหมายเลขและมาตรฐานการป้องกันอันเป็นสากล
  91. V.O.C.C. (VESSEL OPERATING COMMON CARRIER) เรือเดินสมุทรที่ผู้ประกอบกิจการเป็นเจ้าของเรือด้วย
  92. VESSEL / STEAMER/ CARRIER
    ชื่อเรือใหญ่ที่เดินทางไปยังเมืองท่าปลายทาง
  93. VOY.NO. / VOYAGE NO. เที่ยวเรือ