Table of Contents

และโซ่อุปทาน ต้องเรียนสายอะไร ? วางแผนการเรียนต่อสาขาโลจิสติกส์

แผนการเรียนต่อด้านสาขาโลจิสติกส์ในสายสามัญ เพื่อวางแผนในการเลือกแผนการเรียนในมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4 – 6) โดยมีสาขาโลจิตสิกต์ อาทิ สาขาโลจิสติกส์ และสาขาวิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกันกับสาขาโลจิสติกส์

  • แผนการเรียนวิทย์-คณิต มุ่งเน้นในกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษา นักเรียนที่เลือกเรียนแผนการเรียนนี้ควรมีความสามารถพื้นฐานในด้านการคิดคำนวณ มีระเบียบวิธีในการคิดคำนวณ สามารถอธิบายให้เหตุผล วิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ เข้าใจภาษา ตีความ สื่อความหมายได้ดีตลอดจนมีความสามารถในการจินตนาการการมองเห็นทิศทางการเคลื่อนที่ของสิ่งที่เป็นนามธรรม
  • แผนการเรียนศิลป์-คณิต เน้นในกลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และภาษา ดังนั้นนักเรียน ที่จะเลือกแผนการเรียนนี้ ควรมีความสามารถพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ ด้านภาษา การคิดวิเคราะห์ด้านจินตนาการพื้นที่ ระยะทาง ขนาด ทรวดทรง และด้านการจดจำรายละเอียดเป็นหลัก
  • แผนการเรียนศิลป์-ภาษา มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเรียนในกลุ่มวิชาสังคมศึกษา ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาต่างประเทศเป็นภาษาที่สอง ดังนั้น ผู้เรียนที่จะเลือกเรียนแผนการเรียนนี้ควรความสามารถพื้นฐานทางด้านการใช้และความเข้าใจภาษา การจดจำรายละเอียดต่าง ๆ และมีเหตุผลในการคิดวิเคราะห์
  • แผนการเรียนศิลป์-ทั่วไป มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเรียนในกลุ่มวิชาสังคมศึกษา ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ดังนั้น ผู้เรียนที่เรียนแผนการเรียนนี้จึงจำเป็นต้องมีความสามารถพื้นฐานในด้านการใช้และความเข้าใจทางภาษา การจดจำสิ่งต่างๆและมีเหตุผลในการคิดวิเคราะห์

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมพาณิชยนาวี และ

สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ (หลักสูตร 4 ปี)

แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ หรือ แผนการเรียนศิลป์-คำนวณ

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) สาขาวิชาและการจัดการโลจิสติกส์ (หลักสูตร 4 ปี)

แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ หรือ แผนการเรียนศิลป์-คำนวณ

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาวิทยาการเดินเรือ (หลักสูตร 5 ปี)

ผู้ประสงค์ต้องการเข้าศึกษาต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

  1. ผู้สมัครต้องเป็นเพศชาย สูงไม่ต่ำกว่า 160 เซนติเมตร กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  2. ต้องผ่านการตรวจร่างกายจากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ตามเกณฑ์มาตรฐานสุขภาพทุกรายการ ดังนี้ ที่ รายการที่ทำการตรวจ
ที่รายการที่ทำการตรวจเกณฑ์มาตรฐาน
 1ลมบ้าหมู (Epilepsy of Attacks) ไม่มีประวัติเจ็บป่วยเฉียบพลัน
 2โรคไต (Kidney Disease) มีการติดเชื้อหรือไม่เคยเปลี่ยนไต
 3กามโรค (Venereal) ไม่มี
 4โรคชัก (Seizures) ไม่มี
 5ยาเสพติด (Narcotics History) ไม่มี
6วัณโรค (Tuberculosisรายงานผลจากรังสีวินิจฉัยไม่พบ
 7HTV (not compulsory) ไม่มี
 8ความดันโลหิตสูง (Hypertension)ความดันปกติ
9โรคติดเชื้อในกระเพาะอาหารและลำไส้ (Gastro-Intestinal infection disease)ผลปกติจากรายงานการตรวจทางพยาธิวิทยา
 10โรคอ้วน (Obesity)น้ำหนักและส่วนสูงอัตราเฉลี่ยต่ำกว่า 30
 11โรคหัวใจ (Heart)ไม่มีประวัติเจ็บปวดหน้าอกเฉียบพลัน
 12เบาหวาน (Diabetes)ไม่ใช้อินซูลินบำบัดรักษา
 13โรคติดเชื้อทางเดินหายใจเรื้อรัง (Chronic respiratory Disorder) ไม่มีไซนัส/หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน
 14 กระดูก-กล้ามเนื้อ (Muscular – skeletal)ไม่มีการอักเสบของข้อ หรือปวดหลังอย่างรุนแรง
 15มะเร็ง (Cancer)ตรวจวินิจฉัยไม่พบ
 16ติดเชื้อที่ผิวหนัง (Skin disease)ปกติ
 17โรคฟันชนิดเรื้อรังซึ่งเป็นปัญหาต่อการเคี้ยว และการย่อยอาหาร (Chronic dental and digestive System problems)ปกติ
18การตรวจสายตาระดับของการมองเห็น   – ไม่สวมแว่นหรือคอนแทคเลนส์ ไม่ต่ ากว่า 0.1 (20/200) – สวมแว่น ไม่ต่ ากว่า 0.5 (20/40)
19การตรวจตาบอดสีต้องมองเห็นชัดเจนครบทั้ง 4 สี คือ สีแดง/ สีเหลือง/สีเขียว/สีน้ าเงิน
 20การได้ยินของหูทั้ง 2 ข้างไม่เกิน 40 เดซิเบล

3. ต้องผ่านการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายตามที่คณะคณะโลจิสติกส์กำหนด ดังนี้ (ให้เตรียมชุดว่ายน้ำ และชุดกีฬามาด้วย)

3.1 ว่ายน้ำระยะทาง 100 เมตร (ไม่จับเวลา แต่ถ้าไม่ผ่าน ถือว่าตกสัมภาษณ์)
3.2 วิ่งระยะทางประมาณ 1,000 เมตร
3.3 ดันพื้น
3.4 ดึงข้อราวเดี่ยว
3.5 ซิทอัพ
3.6 กระโดดหลบสิ่งกีดขวาง

หมายเหตุ : ที่ระบุว่ารับเฉพาะเพศชายนั้น เนื่องจากในหลักสูตรฯ กำหนดให้ต้องผ่านการฝึกภาคปฏิบัติทางทะเล กับเรือสินค้าเดินทะเลระหว่างประเทศของบริษัทเอกชนเป็นเวลา 1 ปี

ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีบริษัทเจ้าของเรือรายใด รับผู้หญิงขึ้นไปทำงานบนเรือ ดังนั้น หากนิสิตไม่สามารถหาเรือฝึกได้ก็จะไม่สามารถสำเร็จการศึกษาได้

  • ในกรณีที่จำกัดส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 160 เซนติเมตรนั้น เพราะบนสะพานเดินเรือมีเครื่องมือบางชนิดที่ ติดตั้งในตำแหน่งที่สูง ดังนั้นผู้ที่จะขึ้นไปทำงานบนสะพานเดินเรือจึงจำเป็นต้องมีความสูงในระดับพอที่จะใช้เครื่องมือ เหล่านั้นได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ผู้ที่จะขึ้นไปท างานบนสะพานเดินเรือจะต้องมีความสูงเพียงพอ ที่จะมองผ่านกระจกออกไปด้านนอกเพื่อให้มีทัศนวิสัยที่มองเห็นได้กว้างไกล หากมีความสูงไม่เพียงพอก็จะเป็น อุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน
  • ในส่วนที่กำหนดว่ารับเฉพาะผู้กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ นั้น เนื่องจากเป็นหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต มีรายวิชาเรียนที่ต้องอาศัยการคำนวณทางคณิตศาสตร์ การวิเคราะห์ทางฟิสิกส์ และความรู้ทางเคมี อยู่มาก ผู้ที่จะเข้าศึกษาจึงจำเป็นต้องมีพื้นฐานดังกล่าวมาก่อน จึงจะสามารถเข้าศึกษาได้

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ หลักสูตรนานาชาติ

  • ทุกแผนการเรียน และมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.80 หรือสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี และไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และการค้าชายแดน

แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ หรือ แผนการเรียนศิลป์-คำนวณ

ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการโลจิสติกส์และการค้ากับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านของไทย รวมทั้งกลุ่มประเทศ อาเซียน และเอเชียตะวันออก เป็นหลักสูตรที่จัดทำขึ้นภายใต้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ สาขาโลจิสติกส์

ข้อมูลคณะวิศวกรรมศาสตร์โลจิสติกส์

  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ-โลจิสติกส์ แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมต่อเรือและเครื่องกลเรือ แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเดินเรือ แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  • สาขาวิชาการ แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ (ทุกสาย)

ข้อมูลในการรับคัดเลือกเฉพาะสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเดินเรือ สาขาวิชาวิศวกรรมต่อเรือและเครื่องกลเรือ และสาขาวิชาการขนส่งทางทะเล

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเดินเรือรับ เฉพาะเพศชายเท่านั้น

  1. ต้องเข้ารับการทดสอบพลศึกษา คือ ลุก-นั่ง (Sit Up) 60 วินาทียึดพื้นหรือดันข้อ 1 นาที วิ่งเก็บของ (วิ่งกลับตัว) 10 เมตร วิ่งระยะไกล 1,000 เมตร และว่ายน้ำ 50 เมตร
  2. ต้องเป็นผู้ที่สามารถว่ายน้ำได้
  3. จะต้องเปน็ผู้ไม่บกพร่องทางการมองเห็นสีของวัตถุ (ตาไม่บอดสี) สัญญาเสียง (หูไม่หนวก) โรคหัวใจ โรคลมชัก และกระดูก – กล้ามเนื้อไม่มีการอักเสบของข้อหรือปวดหลังอย่างรุนแรง

สาขาวิชาวิศวกรรมต่อเรือและเครื่องกลเรือ และสาขาวิชาการขนส่งทางทะเล

  • จะต้องเป็นผู้ไม่บกพร่องทางการมองเห็นสีของวัตถุ (ตาไม่บอดสี) สัญญาเสียง (หูไม่หนวก)

สรุปข้อมูล

  • สาขาวิชาวิทยาการเดินเรือ (แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์) GPAX (10-20%) : 15 / GAT (%) : 30 / PAT (PAT P1 : 25% / PAT P2  : 30 %)
  • สาขาวิชาการจัดการโลจสิติกส์(แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์) GPAX (10-20%) : 15 / GAT (%) : 30 / PAT (PAT P1 : 30% / PAT P2  : 25 %)
  • สาขาวิชาการจดัการโลจสิติกส์ (แผนการเรียนศิลป์-คำนวณ) GPAX (10-20%) : 40 / GAT (%) : 40 / PAT (PAT P1 : 45%)
  • สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมพาณิชยนาวี (แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์) GPAX (10-20%) : 15 / GAT (%) : 30 / PAT (PAT P1 : 30% / PAT P2  : 25 %)
  • สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมพาณิชยนาวี (แผนการเรียนศิลป์-คำนวณ) GPAX (10-20%) : 15 / GAT (%) : 40 / PAT (PAT P1 : 45%)
  • สาขาวิชาการค้าระหว่างประเทศและการจดัการโลจิสติกส์ (แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์) GPAX (10-20%) : 15 / GAT (%) : 30 / PAT (PAT P1 : 35% / PAT P2  : 20 %)
  • สาขาวิชาการค้าระหว่างประเทศและการจดัการโลจิสติกส์ (แผนการเรียนศิลป์-คำนวณ) GPAX (10-20%) : 15 / GAT (%) : 40 / PAT (PAT P1 : 45%)

หมายเหตุ : ข้อมูลดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงแต่ละปี กรุณาตรวจสอบข้อมูลกับทางมหาวิทยาลัยที่ต้องการเรียนต่ออีกครั้ง!

ที่มาข้อมูล :

  • ระเบียบการรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี ประเภทรับตรงในภาคตะวันออก 12 จังหวัด มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีการศึกษา 2560 (ครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2) – http://regservice.buu.ac.th/text/12index.pdf
  • การรับเข้าศึกษาต่อผ่านทางโครงการรับตรง KU Admission มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ – http://d251anpwg4t4cw.cloudfront.net/static/files/60-kuad-announcement.pdf
  • ข้อมูลแผนการเรียน : http://www.ppk.ac.th/ao/GuideM3/plan.htm