(ILPI) เป็นเครื่องมือช่วยในการประเมินประสิทธิภาพขององค์กร ในการบริหารจัดการภายในองค์กรโดยนำเอาทั้ง 9 กิจกรรม ภายในองค์กร มาประเมินใน 3 มิติ ซึ่งจะช่วยให้สามารถวิเคราะห์และประเมินองค์กรได้ในระดับเมทริกซ์

ตัวชี้วัดวัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ ที่ดำเนินการจัดทำมีจำนวน 9 กิจกรรม

  • 1. การให้บริการแก่ลูกค้าและกิจกรรมสนับสนุน (Customer and Support)
  • 2. การจัดซื้อจัดหา (Purchasing and Procurement)
  • 3. การสื่อสารด้านโลจิสติกส์และกระบวนการสั่งซื้อ (Logistics Communication and Order processing)
  • 4. การขนส่ง (Transportation)
  • 5. การเลือกสถานที่ตั้งของโรงงานและ (Site Selection, Warehousing and Storage)
  • 6. การวางแผนหรือการคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า ( Forecasting and Planning)
  • 7. การบริหารสินค้าคงคลัง ( )
  • 8. การจัดการเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ และ (Materials Handling and Packaging)
  • 9. โลจิสติกส์ย้อนกลับ (Reverse Logistics)

โดยวัดผลการดำเนินงานใน 3 มิติ ประกอบด้วย

  • 1. ด้านการบริหารต้นทุน (Cost Management) เป็นดัชนีที่แสดงถึงสัดส่วนต้นทุนของเปรียบเทียบ
    กับยอดขายประจำปีทั้งหมดของกิจการ
  • 2. ด้านเวลา () เป็นดัชนีที่ใช้ข้อมูลระยะเวลาของการเคลื่อนย้ายสินค้าและข้อมูลที่เกิดขึ้นในแต่ละกิจกรรม
    โลจิสติกส์
  • 3. ด้านความน่าเชื่อถือ (Reliability) เป็นดัชนีที่ใช้วัดความน่าเชื่อถือเกี่ยวกับการส่งมอบสินค้าและการตอบสนองความ
    ต้องการของลูกค้า

ผลการสำรวจข้อมูลของผู้ประกอบการชั้นนำ (Best in Class) จำนวนทั้งสิ้น 200 ราย ในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ และอุตสาหกรรมพลาสติก

ดาวน์โหลดผลการสำรวจข้อมูล : สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

ที่มา : สำนักโลจิสติกส์