(Beer Game) หมายถึง กิจกรรมการจำลองสถานการณ์การบริหารชัพพลายเชน (SC Management Simulation) โดยจำลองเกมส์ให้เป็นเรื่องของการบริหารงานองค์กร เกมนี้ถูกพัฒนาโดย ภาควิชาการบริหารสโลน (Sloan School of Management) แห่งสถาบันเอ็มไอที (MIT) มีชื่อว่า “Beer Game / เบียร์เกม” และเบียร์เกมนี้ได้ถูกนำมาเล่นในการฝึกอบรมบุคลากรทั่วโลก เกมนี้เป็นเกมสำหรับฝึกอบรมการผลิตและ

วัตถุประสงค์ของการเล่นเบียร์เกมคือ พยายามทำให้ต้นทุนของทีมตนเองนั้นต่ำที่สุด โดยต้นทุนที่มีขึ้นจะเกิดจาก การขาดส่งสินค้าตามใบสั่งและการจัดเก็บของใน ประกอบด้วย ต้นทุนของการเก็บของไว้ในคลังสินค้า 50 บาท/ลัง/สัปดาห์ ต้นทุนของสินค้าค้างส่งคือ 100 บาท/ลัง/สัปดาห์ เป็นต้นทุนของการที่เราป้องกันไว้ไม่ให้เกิดการขาดแคลนสินค้าสำหรับลูกค้า ต้นทุนสามารถที่จะประเมินได้ในแต่ละช่วงของโซ่ของการกระจายสินค้า

ลักษณะการเล่นเบียร์เกม

เกมจะเล่นกันบนกระดาน (Board Games) เพื่อที่จะแสดงให้เห็นถึงการผลิตและกระจายสินค้าเบียร์ แต่ละทีมจะประกอบไปด้วย 4 ส่วนงาน คือ

  • กลุ่มค้าปลีก (Retailer)
  • กลุ่มค้าส่ง (Wholesaler)
  • กลุ่มกระจายสินค้า (Distributor)
  • และกลุ่มโรงงาน (Factory)

การบริหารจัดการ   ผ่าน  Board Games (ลักษณะเหมือนกับเกมเศรษฐี หรือ ) เป็นการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติที่จะทำให้เข้าใจปัญหาของ  Supply Chain ได้อย่างลึกซึ้งถึงแก่น และสนุกสนานในเวลาเดียวกัน เพราะได้ลงมือคิดเองทำเอง ตัดสินใจเอง และปัญหาต่าง ๆ จะถูกนำมาอภิปรายและเสนอแนวทางในการแก้ไข

คำศัพท์ที่ใช้ในเบียร์เกม

  • Factory = โรงงานแหล่งผลิต
  • Distributor = ตัวแทนจำหน่ายและกระจายสินค้า หมายถึง การประกอบธุรกิจที่มิได้เป็นผู้ผลิตสินค้าของตนเอง แต่เป็นลักษณะการซื้อมาขายไป มักเป็นผู้ประกอบการด้านคลังสินค้าสำเร็จรูป
  • Wholesaler = ตัวแทนจำหน่ายสินค้า
  • Retailer = ร้านค้าที่มี
  • Incomimg = สินค้าที่กำลังจะเข้ามา
  • Available = สินค้าคงคลังพร้อมใช้งาน
  • New Order = ยอดสั่งใหม่
  • To Ship = ยอดรับของที่จะส่ง
  • Delivery = ของที่จัดส่ง
  • Backorder = ของค้างส่ง หมายถึง ของลูกค้าที่ยังไม่สามารถส่งมอบได้ เนื่องจากเป็นคำสั่งในทันทีหรือในระยะเวลาหนึ่ง ที่มีสินค้าคงคลังไม่เพียงพอกับความต้องการ
  • Inventory = ปริมาณปลายงวด หมายถึง รายงานปริมาณหรือมูลค่าของสินค้าคงเหลือในมือเมื่อสิ้นคาบเวลา ส่วนใหญ่จะได้มาจากการนับชิ้นสินค้าคงคลัง
  • Order = ยอดสั่งสินค้า
  • Holding Cost = ค่าใช้จ่ายในการถือครองสินค้า