คำศัพท์ลีน (lean) เนื่องจากปัญหาอย่างหนึ่งในการเรียนรู้เรื่องลีน คือ เรื่องคำศัพท์ค่อนข้างจะมีมากมายทั้งภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษ จึงได้มีการรวบรวมคำศัพท์สำคัญที่ใช้บ่อยๆ ไว้ดังนี้ คือ
- Andon หรือเรียกว่าอันดง คือ สัญลักษ์ในการมองเห็นเพื่อสื่อถึงปัญหาของเครื่องจักร
- Autonomation (Jidoka) คือ การที่คนหรือเครื่องจักรหยุดการผลิตทันทีที่มีปัญหาเกิดขึ้น
- Autonomation เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของกระบวนการผลิตแบบโตโยต้า
- Bottleneck หรือคอขวด คือ กระบวนการที่จำกัดผลผลิตของทั้งระบบ อีกนัยหนึ่งก็ คือ กระบวนการที่มีรอบเวลาช้าที่สุด หรือกำลังการผลิตต่ำที่สุด
- Cellular Manufacturing คือ การจัดผังโรงงานโดยการวางเครื่องจักรตามลำดับของการผลิต ทำให้การไหลของงานดีขึ้น
- Change Agent คือ ผู้นำในการเปลี่ยนแปลงแนวคิดลีนในองค์กร เช่น ลีนมาเตอร์ (Lean Master)
- Changeover คือ การปรับตั้งเครื่องจักรเพื่อเปลี่ยนรุ่นในการผลิตสินค้า
- Changeover Time คือ เวลาทั้งหมดที่ใช้ในการเปลี่ยนรุ่นการผลิต ซึ่งเริ่มตั้งแต่เวลาที่งานตัวสุดท้ายก่อนเปลี่ยนรุ่นผลิตเสร็จ จนกระทั่งเริ่มการผลิตงานดีตัวแรก หลังการปรับเครื่องเพื่อเปลี่ยนการผลิต
- Cycle Time หรือรอบเวลาในการผลิต คือ ความถี่ของเวลาที่ชิ้นงานผลิตเสร็จทุกๆ หนึ่ง ตัว เป็นเวลาที่ได้จากการสังเกตุจับเวลา เวลานี้ถูกรวมเวลาที่ใช้ในการผลิตจริงเวลาในการเตรียมการ การหยิบชิ้นงานเข้าและออกจากเครื่องจักร เข้าด้วยกัน
- Downtime คือ เวลาของการผลิตที่สูญเสียไป ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนล่วงหน้าหรือไม่ได้วางแผนก็ตาม
- Dock To Dock คือ ช่วงระยะเวลาตั้งแต่วัตถุดิบถูกรับเข้ามาในคลังสินค้า จนกระทั้งวัตถุดิบนั้นออกจากคลังสินค้าไปในรูปของสินค้าสำเร็จรูป เป็นการวัดการหมุนเวียนสินค้าคงคลังอย่างหนึ่งที่ลีนสนใจ
- Efficiency คือ การที่สามารถบรรลุความต้องการของลูกค้าได้โดยการใช้ทรัพยากรในการผลิตน้อยที่สุด
- Error Proofing คือ วีธีการที่ช่วยให้พนักงานไม่เกิดความผิดพลาดขึ้นในการปฏิบัติงานบางครั้งเรียกว่า Fool Proof, Mistake-Proofing และ Poka Yoke
- Flow production คือ ระบบการผลิตที่ Henry Ford ใช้ที่โรงงานที่ Highland Park
- Michigan ในปี ค.ศ. 1913 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดเวลาที่ใช้ในการผลิตรถยนต์
- Gewba เป็นภาษาญี่ปุ่นที่หมายถึงสถานที่จริง โดยทั่วไปในโรงงานหมายถึงในสายการผลิต (Shop Floor)
- Heijunka คือ การปรับเรียบสายการผลิตโดยการผลิตสินค้าทุกรุ่นทุกวันด้วยปริมาณที่สม่ำเสมอตลอดช่วงเวลาของการผลิต
- Inventory สินค้าคงคลัง โดยทั่วไปประกอบไปด้วยวัตถุดิบ (Raw Material) สินค้าในกระบวนการผลิต (Work In process : WIP) และสินค้าผลิตเสร็จรอขาย
- Inventory Turnover เป็นดัชนีวัดการไหลเวียนของสินค้าคงคลังเทียบกับยอดขาย มีหน่วยเป็นรอบ ตัวเลขนี้ยิ่งมากยิ่งดี
- Just In Time Production หรือระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี คือ ระบบที่ทำการผลิตเมื่อมีความต้องการเท่านั้นโดยจะผลิตเฉพาะสิ่งที่ต้องการ ด้วยปริมาณเท่าที่ต้องการเท่านั้น JIT ถือว่าเป็นองค์ประกอบหลักของระบบการผลิตแบบโตโยต้า ร่วมกับ Jidoka โดยมี Heijunka เป็นรากฐานที่สำคัญและมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้ คือ pull system, Takt Time, Continuous Flow
- Kaizen คือ การปรับปรุงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (Incremental Continuous Improvement) เน้นที่ความง่าย (Simple) ในการปรับปรุงและจำนวนของกิจกรรมในการปรับปรุง (Many Small Improvements)
- kanban คือ อุปกรณ์ที่เป็นสัญลักษณ์ที่ให้อำนาจในการสั่งผลิตหรือเบิกงานได้ เป็นเครื่องมือสำคัญของระบบดึง (Pull System)
- Lean Manufacturing หรือการผลิตแบบลีน (Lean Production) คือ ระบบการผลิตที่มุ่งเน้นในการลดหรือกำจัดความสูญเปล่า (Waste) โดยการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลิตภาพ โดยยึดความพึงพอใจของลูกค้าเป็นหลัก
- Muda (Waste) คือ กิจกรรมต่างๆ ที่ทำโดยใช้ทรัพยากรต่างๆ แต่ไม่ได้สร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นในมุมมองของลูกค้า
- Mura (Variation) คือ ความไม่สม่ำเสมอที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต
- Muri (Overburdened) คือ การที่คนหรือเครื่องจักรทำงานมากเกินกำลัง
- One Piece Flow คือ การผลิตและเคลื่อนย้ายชิ้นงานอย่างต่อเนื่อง เพียงครั้งละหนึ่งชิ้นเท่านั้น ทำให้ไม่มีการรอคอยและลดสินค้าคงคลังในกระบวนการผลิต
- Pull Production คือ วิธีในการควบคุมการผลิต โดยให้กระบวนการผลิตที่อยู่ด้านหลัง เป็นผู้ของานจากกระบวนการก่อนหน้า เพื่อทำการผลิต การผลิตแบบดึงจะทำให้ไม่เกิดการผลิตที่มากเกินไป และยังเป็นองค์ประกอบสำคัญของ JIT อีกด้วยPoint of Use Storage คือ การเก็บชิ้นงานหรืออุปกรณ์ให้ใกล้กับบริเวณที่ต้องการมันมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
- Red Tag คือ ป้ายสีแดงที่บอกถึงไม่ความต้องการสิ่งของนั้น และต้องการให้ย้ายออกจากสายการผลิตระหว่าง 5ส.
- Set Up Reduction คือ กระบวนการลดเวลาที่ใช้ในการเปลี่ยนรุ่นเพื่อการผลิต
- Standardized Work คือ การจัดทำขั้นตอนการทำงานที่แน่นอนสำหรับพนักงานผู้ปฏิบัติงานในสายการผลิต
- Standard Inventory คือ ปริมาณของสินค้าคงคลังเท่าที่จำเป็นที่อยู่ที่หน้ากระบวนการใดๆ เพื่อทำให้กระบวนการสามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่น
- Takt Time คือ อัตราความต้องการงานของลูกค้า ซึ่งคำนวณได้จากเวลาที่มีในการผลิตหารด้วยจำนวนที่ลูกค้าต้องการ
- Three Ms เป็นสิ่งที่ระบบการผลิตแบบโตโยต้าพยายามกำจัด ได้แก่ Muda, Muri, Mura
- value Stream Mapping คือ ผังที่ทำขึ้นเพื่อแสดงทุกขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการไหลของวัตถุดิบและข่าวสาร ตั้งแต่การสั่งซื้อจนถึงการจัดส่ง
- Visual Management คือ วิธีการในการสื่อสารให้คนที่ไม่คุ้นเคยกับกระบวนการผลิตสามารถเข้าใจได้ภายในเวลาอันสั้นด้วยการมองเห็น และเมื่อเกิดความผิดปกติขึ้นก็สามารถทราบได้ อันจะก่อให้เกิดการควบคุมและแก้ไข อาจเป็นป้าย สี สัญลักษณ์ หลอดไฟ หรืออื่นๆ ก็ได้
- Work In Process (WIP) คือ ชิ้นงานที่ยังอยู่ระหว่างการผลิต