ประเภทของการเปลี่ยนถ่ายสินค้า () แต่ละประเภทของการดำเนินการเกี่ยวข้องกับการรวบรวมสินค้า (Consolidate)และการสินค้า แบ่งออกเป็นดังนี้

  • Cross Docking : เป็นการรับและการรวบรวมสินค้าขาเข้าที่จัดหามาได้เพื่อสนับสนุนการผลิตแบบ jit ยกตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตสินค้าอาจเช่าใกล้กับโรงงาน และใช้คลังนี้สำหรับการประกอบชิ้นส่วนเบื้องต้น หรือเป็นที่รวบรวมชิ้นส่วนประกอบในการผลิตต่างๆ ที่ได้รับความต้องการมาจากระบบ ดังนั้นจึงทำให้ไม่จำเป็นต้องเก็บสต็อคสินค้าคงคลังแต่อย่างใดเลย
  • Distributor Cross Docking : เป็นการรวบรวมสินค้าขาเข้าจาก Vendor แหล่งต่างๆ ที่มี SKU ที่แตกต่างกันด้วย และจะถูกจัดส่งไปทันทีที่สินค้างวดสุดท้ายมาถึงและผ่านการรับสินค้าแล้ว ยกตัวอย่างเช่น ผู้จัดจำหน่ายคอมพิวเตอร์ บ่อยครั้งที่ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์เหล่านั้นมาจากแหล่งผู้ผลิตชิ้นส่วน ต่างๆ และถูกรวบรวมไว้ที่ศูนย์ขนส่งสินค้าแบบไม่ผ่านคลังสินค้า (Merge-in-transit centers) ก่อนจัดส่งให้กับลูกค้า
  • Transportation Cross Docking : เป็นการรวบรวมจากผู้จัดส่งแต่ละรายแบบไม่เต็มคันรถ () และการจัดส่งสินค้าจำนวนน้อยเพื่อทำให้เกิดประโยชน์จากขนาด (Economics of scale) ใน Crossdock นั้นจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้าด้วยระบบสายพานลำเลียงและการคัดแยกประเภท ส่วนการขนส่งแบบไม่เต็มคันรถ (TLT) ส่วนมากจะต้องใช้การเคลื่อนย้ายสินค้าด้วยแรงงานคน และใช้รถ folklifts ด้วย
  • Retail Cross Docking: เป็นการรับสินค้าจากผู้ขายสินค้าต่างๆ และมีการคัดแยกประเภทสินค้าเพื่อขนสินค้าขึ้นรถขนสินค้าขาออก (Outbound trucks) สำหรับส่งไปยังร้านค้าต่างๆ
  • Opportunistic Cross Docking : เป็นการเคลื่อนย้ายสินค้าในคลังสินค้าโดยตรงจากบริเวณที่รับสินค้าขาเข้า () ไปยังที่จัดส่งสินค้าขาออก (Shipment dock) เพื่อจัดส่งสินค้าไปให้กับลูกค้าตามใบสั่งสินค้า

จากที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ส่วนที่เหมือนกันนั่นคือการรวบรวมการจัดส่ง และการใช้รอบเวลาสำหรับจัดส่งสินค้าที่สั้นมาก ซึ่งปกติใช้เวลาน้อยกว่าหนึ่งวัน การที่ใช้เวลาสั้นนั้นเป็นเพราะว่าทราบจุดหมายปลายทางของรายการที่จะจัดส่ง ก่อนล่วงหน้า หรือได้ถูกกำหนดจุดหมายที่จะรับสินค้าไว้แล้ว

การดำเนินการในรูปแบบ Cross Docking แบ่งเป็น 2 รูปแบบคือ Pre- และ Post-distribution ในกรณีของการดำเนินการแบบ Pre-distribution นั้นผู้ขายจะเตรียมการต่างๆ ก่อนส่งสินค้าไปยัง Crossdock ของ Distributor

ยกตัวอย่าง เช่น การติดป้ายแสดงราคาของสินค้าแต่ละรายการ หรือการติดบาร์โค้ด ซึ่งอย่างน้อยจะมีการติดป้ายรายละเอียดสินค้าบนพาเลตทำให้พนักงานสามารถขน ถ่ายสินค้าไปยังรถขนสินค้าขาออกได้ทันที การดำเนินการ Pre-distribution นั้นจะดีต่อ Distributor เพราะจะทำให้ต้นทุนดำเนินการ (Operating cost) ต่ำ

เนื่องจากๆ ไม่ต้องมีกิจกรรมที่เกี่ยวกับตัวสินค้าเลย แต่กลับเพิ่มความยุ่งยากให้กับผู้ขายสินค้าเพราะผู้ขายจะต้องรู้ว่าจำนวนของ สินค้าในแต่ละ SKU ที่จะถูกจัดส่งไปให้กับลูกค้าที่ปลายทางก่อน ซึ่งผู้ขายจะต้องทำการติดป้ายแสดงบอกไว้ที่สินค้าด้วย