คำถามมากมายเกี่ยวกับเรียนสาขาและโซ่อุปทานยากไหม , ถ้าอยากทำงานโลจิสติกส์ ต้องเรียนอะไร , โลจิสติกส์มีสอนในคณะไหนบ้าง , มหาวิทยาลัยอะไรที่ดังบ้างที่เปิดสอนสาขาโลจิสติกส์  มาทำความเข้าใจพร้อมกันดีกว่า

สายงานโลจิสติกส์เป็นอย่างไร ?

โลจิสติกส์ เป็นส่วนที่สำคัญมากในแต่ละองค์กร ถือว่าเป็นหัวใจในการขับเคลื่อน หากมีการบริหารจัดการที่ดีมีประสิทธิภาพสามารถทำกำไรให้บริษัทมากมาย

โลจิสติกส์อยู่ในคณะอะไรบ้าง

เพราะว่าโลจิสติกส์คือการคิดเป็นกระบวนการ ( Process)  ไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้อ  วางแผน คลังสินค้าหรือ ขนส่ง แต่ละส่วนมีกระบวนการรองรับทั้งหมด ถ้าจะคิดว่าคณะไหนที่มองภาพเป็นกระบวนการ  Process เป็นเหตุ เป็นผล ก็คงไม่พ้นสาขาวิศวะฯ หรือสาขาบริหารธุรกิจ จะเห็นได้ว่าหลายๆ มหาวิทยาลัยจึงเพิ่มหลักสูตร หรือเนื้อหาในสาขาโลจิสติกส์มากขึ้น

แล้วถ้าไม่ได้เรียนจบด้านวิศวะโลจิสติกส์ หรือบริหารธุรกิจ สาขา สามารถทำงานด้านโลจิสติกส์ได้ไหม ? และถ้าอยากเรียนสาขานี้ต้องทำอย่างไงบ้าง

ทำได้ แต่คงจะต้องเรียนรู้และฝึกให้คิดเป็นกระบวนการ อาจจะต้องใช้เวลานานกว่าคนที่เรียนในวิศวะ หรือบริหารธุรกิจ ได้ฝึกฝน ฝึกงานกับสถานประกอบการจริงตั้งแต่เรียนกันมาแล้ว ถ้าหากมีใจรักจริง ๆ ก็สามารถทำได้

ส่วนเรียนจบสาขาอื่น ๆ อยากเรียนสาขานี้ ก็สามารถเรียนได้ ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าสาขาโลจิสติกส์ เน้นด้านทางทฤษฎีและปฏิบัติด้วย ฝึกฝน ต้องอาศัยความเข้าใจ และเน้นการวิเคราะห์ค่อนข้างเยอะ เพราะหน้างานเราไม่รู้ด้วยซ้ำจะมีเหตุการณ์อะไรบ้างที่เกิดขึ้น

นอกจากนี้สาขาโลจิสติกส์ ยังมีเรื่องของการคำนวณ ซึ่งหนีไม่พ้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับด้านคลังสินค้า และการบริหารธุรกิจให้ธุรกิจ เพิ่มผลกำไรได้ ตัวอย่าง การวางแผนบริหารจัดการต้นทุน , การคำนวณสินค้าเพื่อวิเคราะห์ทิศทางการสั่งผลิต สั่งซื้อ , การวิเคราะห์ต้นทุนของสินค้า จะผลิตสินค้าตัวนี้คุ้ม หรือขาดทุน , จุดคุ้มทุนของสินค้า และอื่น ๆ เป็นต้น

งานของโลจิสติกส์สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ

  1. กิจกรรม การเคลื่อนย้าย ประกอบด้วย การขนส่ง การเคลื่อนย้ายของข้อมูลข่าวสาร เช่น ความต้องการของลูกค้า การเคลื่อนย้ายของเงินทุน เป็นต้น
  2. กิจกรรมและควบคุมสินค้า ประกอบด้วย -จัดหา การจัดการคลังสินค้า การจัดการสินค้าคงคลัง
  3. กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการ ประกอบด้วย ศูนย์กระจายสินค้า การบรรจุภัณฑ์ การส่งมอบสินค้า

เพิ่งเรียนจบโลจิสติกส์ แล้วสายงานโลจิสติกส์ จะทำงานด้านไหนบ้าง

ถ้าเพิ่งจบมาใหม่ ๆ ยังไม่มีประสบการณ์ต้องเริ่มจาก Operation (ฝ่ายปฏิบัติงาน) จะแบ่งออกเป็น 2 อย่างคือ

  • พวกทำเอกสาร () เช่น ดูแลเอกสารนำเข้า-ส่งออก (B/L, COA) ถ้าทำงานกับบริษัทนำเข้าส่งออก หรือสายการเดินเรือ
  • พวกสนับสนุนการปฎิบัติงาน (Operation) เช่นเจ้าหน้าที่คลังสินค้า เจ้าหน้าที่ขนส่ง เจ้าหน้าที่ประจำท่าเรือ

สุดท้ายมาเช็คดีกว่า เราเหมาะกับกับการเรียนสาขาโลจิสติกส์หรือไม่ ?

  • ถ้าเป็นคนช่างคิด  ชอบตัวเลข ชอบเอกสาร เจ้าระเบียบ โดยเฉพาะเรื่องการเก็บเอกสาร ความจำดี ชอบอยู่ในออฟฟิต ชอบเครื่องคอมพิวเตอร์ ก็เหมาะกับส่วนข้อมูล พวกทำเอกสาร (Support Function)
  • ถ้าเป็นคนชอบลงมือทำ ไม่อยู่นิ่ง ชอบอยู่นอกออฟฟิต งาน Operation ก็น่าจะเหมาะสม เช่น งานคลังสินค้า ดูสต็อก เรียงสต็อก ทำเอกสารสต็อก จัดเบิกสินค้า

ขอให้สนุกกับการเรียนสาขาโลจิสติกส์ และได้ทำงานสายโลจิสติกส์ที่คาดหวังไว้ 😀

ข้อมูล : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การและโซ่อุปทาน) – http://www.spu.ac.th/business/courses/bachelors/logistic-management