กิจกรรมหลักในการจัดการโลจิสติกส์ () ประกอบด้วย

  • 1. การพยากรณ์และการวางแผนอุปสงค์
  • 2. การหาทำเลที่ตั้งของอาคาร โรงงาน คลังสินค้า ศูนย์กระจายสินค้า ร้านสาขา อื่นๆ
  • 3. การจัดซื้อ
  • 4. การจัดการวัตถุดิบขาเข้า
  • 5. การจัดการคลังสินค้า
  • 6. การจัดการสินค้าคงคลัง วัสดุคงคลัง
  • 7. การเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ
  • 8. การบรรจุหีบห่อ
  • 9. การจัดการช่องทางจัดจำหน่าย
  • 10. การกระจายสินค้า
  • 11. การขนส่ง
  • 12. เช่น การจัดการสินค้าเรียกคืน
  • 13. งานบริการลูกค้า เช่น การจัดคิว

การเชื่อมประสานกันของกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้เพื่อให้บรรลุถึง ความร่วมมือกันในการวางแผน, การ, การควบคุมสินค้าและการบริการ ตลอดจนการไหลของข้อมูลผ่านองค์กรอย่างประสานสอดคล้องมีประสิทธิภาพ คือ สิ่งที่รู้จักกันในทุกวันนี้ว่า “โลจิสติกส์” (logistics)

ความสำคัญของ “โลจิสติกส์” (logistics)

1. การผลิต

วัตถุดิบ วัสดุในการผลิตเป็นกิจกรรมหนึ่งของโลจิสติกส์ขาเข้า โดยจะต้องมีเพียงพอตามความต้องการแต่ไม่เป็นภาระด้านต้นทุน ประกอบด้วยกิจกรรม การจัดหาหรือจัดซื้อ การขนส่ง วัสดุคงคลัง และการเก็บรักษา ในปัจจุบันการนำการผลิตแบบ Just-in-Time ( JIT ) มาใช้ ยิ่งเพิ่มความท้าทายในการจัดการโลจิสติกส์ขาเข้า เพราะเป็นการผลิตที่ต้องมีวัสดุเพียงพอกับการผลิตแบบวันต่อวัน ไม่มีการเก็บวัสดุคงคลัง (Zero ) เพื่อลดต้นทุนการถือครองวัสดุ

2. การตลาด

การนำสินค้าไปยังลูกค้าและผู้ใช้คนสุดท้ายเกี่ยวข้องกับการบรรจุภัณฑ์ การขนส่ง สินค้าคงคลัง คลังสินค้าและอื่นๆ กิจกรรมที่กล่าวมานี้เป็นกิจกรรมโลจิสติกส์ด้านขาออก ที่ให้การสนับสนุนการตลาดในด้านต่างๆ คือ ราคา(Price) ผลิตภัณฑ์(Product) การส่งเสริมการขาย(Promotion) ช่องทางจัดจำหน่าย(Place)

3. ต้นทุนและความพึงพอใจของลูกค้า

ในยุคแรกๆ การแข่งขันเป็นเรื่องของความได้เปรียบในด้านราคา ผู้บริโภคเลือกที่จะซื้อสินค้าที่มีราคาต่ำกว่า เนื่องจากคุณภาพไม่แตกต่างกันมาก ยุคต่อมาการแข่งขันเป็นเรื่องของความได้เปรียบในด้านคุณภาพ ผู้บริโภคยอมซื้อสินค้าที่มีราคาสูงขึ้นเล็กน้อยแต่ได้คุณภาพที่ดีกว่า