AEC หรือ Asean EconomicCommunity หมายถึง การรวมตัวของชาติใน Asean มีประเทศ ไทย, พม่า, ลาว, เวียดนาม, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, กัมพูชา เพื่อที่จะให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน จะมีรูปแบบคล้ายๆ กลุ่ม Euro Zone นั่นเอง จะทำให้มีผลประโยชน์, อำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้าได้มากขึ้น และการนำเข้า ส่งออกของชาติในอาเซียนก็จะเสรี ยกเว้นสินค้าบางชนิดที่แต่ละประเทศอาจจะขอไว้ไม่ลดภาษีนำเข้า Asean จะรวมตัวเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและมีผลจริงๆจังๆ ณ วันที่ 1 มกราคม 2558 ณ วันนั้นจะทำให้ภูมิภาคนี้เปลี่ยนไปอย่างมาก
แนวทางที่จะให้ AEC เป็นไป คือ
- 1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน
- 2.การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง
- 3. การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน
- 4. การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก
การรวมกลุ่มสินค้าและบริการ 11 สาขานำร่อง ถือ ว่าเป็นการเปิดเสรีด้านการค้าและบริการ เพื่อส่งเสริมการแบ่งงานกันผลิตสินค้าและบริการภายในอาเซียนด้วยกัน โดยจะเน้นใช้วัตถุดิบภายในอาเซียนเป็นหลัก ตามความถนัด เนื่องจากแต่ละประเทศมีวัตถุดิบที่ไม่เหมือนกัน ถ้าจะให้ผลิตทุกอย่าง จะเป็นการเพิ่มต้นทุนสินค้าแบบเสียเปล่า สำหรับ 11 สาขานำร่องมีดังนี้
- 1. สาขาผลิตภัณฑ์เกษตร
- 2. สาขาประมง
- 3. สาขาผลิตภัณฑ์ยาง
- 4. สาขาสิ่งทอ
- 5. สาขายานยนต์
- 6. สาขาผลิตภัณฑ์ไม้
- 7. สาขาอิเล็กทรอนิกส์
- 8. สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
- 9. สาขาสุขภาพ
- 10. สาขาท่องเที่ยว
- 11. สาขาการบิน
อย่างไรก็ตาม ภายหลังได้เพิ่มสาขาที่ 12 ได้แก่ สาขาโลจิสติกส์ (logistics) เพื่อทำให้การขนส่งวัตถุดิบต่าง ๆ ทำได้สะดวกมากขึ้น เมื่อแบ่งทั้ง 12 สาขา ตามประเทศที่รับผิดชอบ สามารถแบ่งได้ ดังนี้
- 1. พม่า สาขาผลิตภัณฑ์เกษตร และสาขาประมง
- 2. มาเลเซีย สาขาผลิตภัณฑ์ยาง และสาขาสิ่งทอ
- 3. อินโดนีเซีย สาขายานยนต์ และสาขาผลิตภัณฑ์ไม้
- 4. ฟิลิปปินส์ สาขาอิเล็กทรอนิกส์
- 5. สิงคโปร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาสุขภาพ
- 6. ไทย สาขาการท่องเที่ยวและสาขาการบิน
- 7. เวียดนาม สาขาโลจิสติกส์