ความหมายระหว่าง Supply Chain , Value Chain และ Supply Chain คืออะไร ?

โซ่อุปทาน หรือ ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) หมายถึง การทำงานเป็นแผนกต่าง ๆ ตั้งแต่เริ่มต้นหาวัตถุดิบ จนสิ้นสุดกระบวนการคือส่งถึงมือลูกค้า เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ การจัดซื้อจัดหา (Procurement) การผลิต () การจัดจำหน่าย (Distribution) การขนส่ง (Transportation) และการจัดเก็บ () ที่เชื่อมโยงกระบวนการดำเนินธุรกิจทุกขั้นตอนที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกันเป็นโซ่อุปทานหรือเครือข่าย


การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) หมายถึง การจัดการในส่วนของกระบวนการที่เกิดขึ้น ระหว่างผู้ผลิต (ผู้ให้บริการ) กับผู้ขายปัจจัยผลิต (ซัพพลายเออร์) เพื่อช่วยลดต้นทุนในการผลิต อันนำไปสู่การเพิ่มผลกำไรของกิจการได้ในที่สุด โดยกระบวนการนี้จะเริ่มตั้งแต่กระบวนการจัดซื้อ (Procurement) การผลิต (Manufacturing) การจัดเก็บ (Storage) ( Technology) การจัดจำหน่าย (Distribution) ตลอดจนการขนส่ง (Transportation) ซึ่งมีผลสำคัญต่อการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า


โซ่คุณค่า (Value Chain) หมายถึง การจัดองค์ประกอบของกิจกรรมต่าง ๆ ในโซ่อุปทาน ที่เพิ่มคุณค่าให้กับตัวสินค้า ผลิตภัณฑ์ (Products) และการบริการ () แบ่งกิจกรรมภายในองค์กร เป็น 2 กิจกรรม เป็นส่วนสำคัญของกระบวนการทางโซ่อุปทาน คือ

กิจกรรมหลัก (Primary Activities)

  • Inbound การรับวัตถุดิบ การจัดเก็บเข้า การควบคุมสินค้าคงคลัง
  • Operations การเปลี่ยนหรือแปรรูปวัตถุดิบให้ออกมา เป็นสินค้า เป็นขั้นตอนการผลิต การบรรจุ
  • logistics การจัดเก็บ รวบรวม จัดจำหน่ายสินค้า และบริการไปยังลูกค้า
  • Marketing and Sales ผู้ซื้อสินค้า และรวมถึง การโฆษณา การตั้งราคา การเลือกช่องทางกระจายสินค้า
  • Services การดูแลรักษาและการปรับปรุงคุณค่าของสินค้าให้ดีขึ้น รวมถึง การให้การสนับสนุนลูกค้า การซ่อมแซมแก้ไข การรับประกัน

กิจกรรมสนับสนุน (Support Activities)

  • Procurement การจัดซื้อ-จัดหา เพื่อมาใช้ในกิจกรรมหลัก การเจรจาต่อรองกับ Supplier
  • Technology Development การวิจัยและพัฒนาสินค้า การทำให้กระบวนการเป็นอัตโนมัติ ตลอดถึงกิจกรรมต่าง ๆ อันเป็นไปเพื่อสนับสนุนกลุ่มกิจกรรมหลัก
  • Human การบริหารทรัพยากรบุคคล ตั้งแต่วิเคราะห์ความต้องการ สรรหาและคัดเลือก ประเมินผล พัฒนา ฝึกอบรม ระบบเงินเดือนค่าจ้าง และแรงงานสัมพันธ์
  • Firm Infrastructure โครงสร้างพื้นฐานขององค์กร ได้แก่ ระบบบัญชี ระบบการเงิน การบริหารจัดการขององค์กร กฏหมาย การควบคุมคุณภาพ