ERP ย่อมาจาก Enterprise Resource Planning หมายถึง การวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรโดยรวม เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุดของทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร
จึงเป็นเครื่องมือที่นำมาใช้ในการบริหารธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในองค์กร อีกทั้งยังช่วยให้สามารถวางแผนการลงทุนและบริหารทรัพยากรขององค์กรโดยรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ERP จะช่วยทำให้การเชื่อมโยงทางแนวนอนระหว่างการจัดซื้อจัดจ้าง การผลิต และการขายทำได้อย่างราบรื่น ผ่านข้ามกำแพงระหว่างแผนก และทำให้สามารถบริหารองค์รวมเพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด
ระบบ ERP เป็นระบบสารสนเทศขององค์กรที่นำแนวคิดและวิธีการบริหารของ ERP มาทำให้เกิดเป็นระบบเชิงปฏิบัติในองค์กร ระบบ ERP สามารถบูรณาการ (integrate) รวมงานหลัก (core business process) ต่างๆ ในบริษัททั้งหมด ได้แก่ การจัดจ้าง การผลิต การขาย การบัญชี และการบริหารบุคคล เข้าด้วยกันเป็นระบบที่สัมพันธ์กันและสามารถเชื่อมโยงกันอย่าง real time ตัวอย่างดังนี้
- 1. การตลาดและการขาย : ใน functional areas นี้จะประกอบด้วย business functions ของการตลาด, กระบวนการสั่งซื้อสินค้า, การประชาสัมพันธ์กับลูกค้า, การรองรับลูกค้า, การคาดคะเนการขายและการโฆษณา
- 2. การผลิตและการจัดการเรื่องวัตถุดิบ : functional areas นี้จะประกอบด้วย business functions การซื้อ, การรับ, การขนส่ง, ตารางการผลิต,การผลิตและการบำรุงรักษาเครื่องจักร
- 3. การบัญชีและการเงิน : functional areas นี้จะประกอบด้วย business functions บัญชีการเงิน,การกำหนดและควบคุมราคา, การวางแผนและการทำงบประมาณและการจัดการกระแสเงิน
- 4. ทรัพยากรบุคคล : functional areas นี้จะประกอบด้วย business functions การจัดหาและการจ้างใหม่, การอบรม, เงินเดือนและสิทธิประโยชน์