ข้อดี – ข้อเสีย จุดคุ้มทุน (Break even point) คืออะไร ?
ข้อดี
- 1. การอ่านงบการเงิน เข้าใจได้ง่ายกว่าวิธีต้นทุนรวม ขายมากก็กำไรมาก
- 2. การวิเคราะห์ต้นทุน ปริมาณ และกำไร เนื่องจากมีการแยกออกเป็นรายการคงที่และผันแปรในงบกำไรขาดทุน ดังนั้นผู้บริหารสามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของต้นทุน ปริมาณและกำไรของผลิตภัณฑ์ได้ง่ายขึ้น เพื่อนำไปใช้ในการกำหนดราคาขาย และปริมาณการขายเพื่อให้ได้กำไรที่ต้องการ
- 3. การวัดผลการปฏิบัติงานของฝ่ายต่างๆ เพราะถือว่าค่าใช้จ่ายในการผลิตคงที่ เป็นค่าใช้จ่ายประจำงวด และวัดผลการปฏิบัติงานจากค่าใช้จ่ายผันแปรที่อยู่ในความรับผิดชอบโดยไม่คำนึงถึงค่าใช้จ่ายต่างๆที่ควบคุมไม่ได้ นับเป็นการวัดผลงานที่ยุติธรรม ง่าย สะดวกกว่าวิธีต้นทุนรวม
- 4. วิธีต้นทุนผันแปร ช่วยให้การจัดทำและใช้งบประมาณได้ง่ายขึ้น โดยนำเอายอดขายจริง คูณ ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย บวกค่าใช้จ่ายคงที่ ซึ่งวิธีการนี้ใช้ได้แม้ยอดขายจริงไม่เท่ากับงบประมาณก็ตาม
- 5. การกำหนดราคาขายสินค้า เช่น การกำหนดราคาขายเป็นกรณีพิเศษโดยไม่คำนึงถึงต้นทุนคงที่ โดยกำหนดให้คุ้มทุนกับต้นทุนผันแปร ใช้ได้เฉพาะระยะสั้นเท่านั้น มิฉะนั้นจะประสบปัญหาการขาดทุน
ข้อเสีย
- 1. ถ้าเสนอต่อบุคคลภายนอจะเกิดการสับสน
- 2. ใช้ในการพิจารณาขยายกำลังผลิต หรือ ยกเลิกการผลิตบางรายการไม่ได้
- 3. ใช้ในการกำหนดราคาขาย(ลดราคาขาย) ในระยะสั้นเท่านั้น มิเช่นนั้นจะขาดทุน เพราะ เมื่อลดราคาแล้ว จำหน่ายได้มากขึ้น งบกำไรขาดทุนจะแสดงกำไรสูง
- 4. การจำแนกต้นทุนผันแปร กับ คงที่ทำได้ยาก
- 5.ทำให้ไม่ทราบผลิตเต็มกำลังผลิต หรือ ผลิตมีประสิทธิภาพหรือไม่ เพราะต้นทุนผันแปร จะกำหนดให้ค่าใช้จ่ายการผลิตคงที่เป็นค่าใช้จ่ายประจำงวดจึงไม่มีการคำนวณผลต่างเนื่องจากกำลังการผลิตให้เห็นในงบกำไรขาดทุน
- 6.ไม่เหมาะกับกิจการที่เครื่องจักรเป็นส่วนใหญ่
สรุป ควรมีการจัดทำงบกำไรขาดทุน ทั้ง 2 วิธี คือ วิธีต้นทุนผันแปร เพื่อให้มีข้อมูลประกอบการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ และ วิธีต้นทุนรวม เพื่อให้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่ยอมรับกันโดยทั่วไป