Green Logistics () คืออะไร ?

Green Logistics (กรีนโลจิสติกส์) หมายถึง การบริหาร (logistics) ในมิติที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม นอกจากจะช่วยประหยัดพลังงานแล้วยังช่วยลดต้นทุนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดอีก ด้วย รวมทั้งเสริมสร้งศักยภาพทางการแข่งขันในยุคการค้าเสรี

  • ข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับประเทศต่างๆ ก่อให้เกิดการแข่งขันอย่างกว้างขวาง ทำให้ต้องมีการปรับตัวในการทำธุรกิจให้สอดคล้องกับกติกาการค้าใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ISO 26000 ซึ่งเป็นมาตรฐานว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมที่จะสมบูรณ์และ เริ่มใช้ในปี 2553
  • กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ ในเรื่องของการจำกัดน้ำหนักบรรทุกสินค้า ซึ่งแต่ละประเทศจะแตกต่างกัน รวมทั้งต้องให้ความสำคัญต่อปัญหาอุบัติภัยที่จะมีต่อสังคม และการทำงานที่ปลอดภัยของบุคคล (Safety First) ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่ธุรกิจ Logistics
  • จากผลการประชุมสุดยอดระดับโลกด้านสิ่งแวดล้อมที่เรียกร้องให้ธุรกิจทั่วโลก แสดงความเป็นพลเมืองที่ดีต่อการดำเนินธุรกิจที่จะส่งต่อการเปลี่ยน แปลงสภาพภูมือากาศ ภาวะโลกร้อน ปฎิกิริยาเรือนกระจก รวทั้งมลพิษทางอากาศจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
  • องค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาของกลุ่มประเทศ OECD ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้ออกแนวปฎิบัติสำหรับบรรษัทข้ามชาติ หรือที่เรียกว่า OECD Guild lines for Multinational Enterprise ที่เสนอให้บรรษัทข้ามชาติในกลุ่มประเทศสมาชิกต้องมีการทำ CSR และติดต่อค้าขายเฉพาะคู่ค้าที่มี CSR เท่านั้น

ของประเทศญี่ปุ่น มี 4 ด้านหลักๆ คือ

  • 1. Corporative คือ การรวบรวมสินค้าจากผู้ประกอบการหลายรายไว้ที่จุดพักสินค้า แล้วจัดเส้นทางเพื่อขนส่งสินค้าร่วมกัน จากการทดลองของผู้ประกอบการ 8 ราย โดยขนส่งสินค้าระยะทาง 600 กิโลเมตร พบว่า สามารถลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงได้มาก และลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้กว่า 40%
  • 2. Eco-Dive มีการอบรม เพิ่มจิตสำนึกการขับขี่ให้กับพนักงานขับรถ เพื่อลดการขับรถเร็วเกินมาตรฐาน ลดการเดินเครื่องยนต์เปล่าในขณะที่พักผ่อนหรือขนถ่ายสินค้า จากการดำเนินการดังกล่าวพบว่า บริษัทรถบรรทุกรายใหญ่สามารถลดต้นทุนค่าพลังงานเชื้อเพลิงได้ปีละ 200 ล้านบาท
  • 3. Modal Shift เป็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งมาใช้ทางรางมากขึ้น ซึ่งในญี่ปุ่นมีการพัฒนาระบบขนส่งสินค้าทางรถไฟค่อนข้างมาก การขนส่งสินค้าด้วยรถไฟ 1 เที่ยวเท่ากับการขนส่งด้วยรถบรรทุก 28 คัน ส่วนในด้านสิ่งแวดล้อมพบว่า การขนส่งสินค้าทางรถไฟ 1 ตันต่อระยะทาง 1 กิโลเมตร มีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 0.02 กิโลกรัม ขณะที่ทางเรือ 0.04 กิโลกรัม รถบรรทุก 0.35 กิโลกรัม และเครื่องบิน 1.51 กิโลกรัม
  • 4. Eco-Wrapping เน้นการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ใช้บรรจุภัณฑ์จากกระดาษรีไซเคิล และปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์จากกระดาษมาเป็นพลาสติกที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ ได้

กรณีศึกษา : กรีนโลจิสติกส์ (Green Logistics) ลดต้นทุนขนส่ง (เพื่อช่วยให้เ้ข้าใจมากขึ้น)

ธุรกิจค่ายยักษ์ใหญ่งัดโปรเจ็กต์ Green Logistics หรือ กรีน โลจิสติกส์ ยกตัวอย่างของ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย สักหนึ่งบริษัทแล้วกัน…

บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่มีกำลังการผลิต 1 ล้านคัน/ปี ส่งออก 50% ขายในประเทศ 50% แต่การแข่งขันในธุรกิจนี้รุนแรงจนทำให้ระบบโลจิสติกส์เป็นเครื่องมือสำคัญ ด้านการลดต้นทุน โตโยต้าเล็งเห็นจุดหลักเรื่องปริมาณการผลิตจำนวนมาก จึงต้องใช้ชิ้นส่วนรถยนต์จากซัพพลายเออร์ถึง 162 โรงงาน ต้องพึ่งรถขนส่งเพิ่มขึ้นมาก ถ้าหากต่างคนต่างทำจะเสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายมาก ดังนั้นค่ายรถยนต์ควรจะรวมตัวกันจัดระบบให้เป็นระเบียบ

โตโยต้าได้ ใช้ ระบบ Milk Run System (ระบบ) จัดเส้นทางเดินรถแยกเป็น A, B, C และ D นอกจากนี้ยังพัฒนา “E- ต่างจากวิธีทำงานปกติ โตโยต้ามีระบบ Kamban (คัมบัง) หรือ Just In (jit) เป็นเครื่องมือหลักในการบริหารของคงเหลือส่งให้ทันพอดีเวลาการจัดซื้อและการ ผลิต พัฒนาระบบจนรถยนต์เดินหน้าราบรื่น

ส่วนระบบขน ส่งภายในประเทศ โตโยต้า ได้พัฒนาระบบ Vehicles Logistics เป็นคลัสเตอร์ดีลิเวอรี่ เดิมใช้รถบรรทุก 1 คัน ขนรถยนต์ได้ 3 คันใหญ่ 6 คันเล็ก ปัจจุบันปรับจนสามารถใช้รถบรรทุก 1 คัน ขนรถยนต์ 4 คันใหญ่ 8 คันเล็ก แต่ยังต่างจากญี่ปุ่นขนได้ถึง 12 คันเล็ก ขณะนี้โตโยต้าศึกษาระบบอื่นไว้บ้าง เช่น ระบบราง แต่ก็ยังเห็นว่าไม่เหมาะกับสินค้าของบริษัท เพราะหากขนส่งรถยนต์ทางรถไฟอาจจะเสียหายง่ายกว่า ส่วนการก็ลำบากต้องถ่ายการขนส่งหลายครั้ง เสียค่าใช้จ่ายสูง

ปัจจุบัน โตโยต้าไฮไลต์ทำโครงการ Green Logistics เพราะประเมินแล้วเป็นทางออกที่ดีมีความสำคัญ ถ้าวิธีนี้สามารถช่วยลดการใช้รถบรรทุกขนส่งสินค้าก็เท่ากับช่วยลดคาร์บอน ไดออกไซด์และรักษาสิ่งแวดล้อมในระยะยาวไปพร้อมกัน โตโยต้าจึงพยายามถ่ายทอดให้พันธมิตรกลุ่มซัพพลายเออร์ และดีลเลอร์ เพื่อให้ทั้งระบบของโตโยต้าเดินไปในแนวทางเดียวกัน