EDI ย่อมาจาก คือ ระบบการเปลี่ยนข้อมูลที่ผ่านด้วยระบบคอมพิวเตอร์ระหว่างองค์กร 2 องค์กรขึ้นไป สามามารถนำไปใช้ได้ทั้งองค์กรภายในและองค์กรภายนอก ทั้งในประเทศ และระหว่างประเทศ เช่น ใบกำกับสินค้า (invoices) , ใบขนของ (Bill Of Lading) , และใบสั่งซื้อสินค้า ( Orders)

และปัจจุบันนี้เริ่มมีหลายบริษัทหลายองค์กรที่นำเอาระบบเข้าไปใช้    ตัวอย่างเช่น  Customs Declaration (กรมศุลกากร – การนำเข้าส่งออกสินค้า) , Purchase Order , Invoice (ธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง – การซื้อสินค้า , รายการสินค้า) Payments (ธนาคาร – การชำระเงินระหว่างองค์กร) Manifest , Bill of Lading , Airway Bill (ธุรกิจ – การไหลเวียนของสินค้าระหว่างท่าเรือ และ รวบรวมระบบท่าเรือกับผู้ขนสินค้าในประเทศ  และระหว่างประเทศ) Letter of Credit (ผู้นำเข้า – ส่งออก – กระบวนการนำเข้าส่งออก)

ประโยชน์ที่นำ EDI ไปใช้ :

  • ประโยชน์ทางตรง: ลดความจำเป็นในการพิมพ์เอกสารทางธุรกิจ, การส่งเอกสารให้คู่ค้า และการรับเอกสารจากคู่ค้ามาคีย์ข้อมูลเข้าระบบอีกครั้ง ดังนั้นอีดีไอจึงสามารถลดในการเตรียมเอกสาร, ค่าใช้จ่ายในการส่งและค่าใช้จ่ายในการจัดการเอกสารได้ รวมทั้งความผิดพลาดจากการคีย์ข้อมูลใหม่จะลดลง นอกจากนี้เวลาที่ใช้ในการส่งซึ่งลดลงมีผลทำให้วงจรธุรกิจสั้นลง
  • ประโยชน์ทางอ้อม: วงจรธุรกิจที่สั้นลงจะให้โอกาสในการพัฒนาการใช้เงินทุนหมุนเวียน วงจรการที่สั้นลงทำให้จำนวนสต๊อกในคลังสินค้าลดลง สามารถใช้ส่งข้อมูลการผลิตและข้อมูลสินค้าคงคลังไปให้ลูกค้าได้ ยังสามารถลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งได้โดยการเร่งขบวนการส่งสินค้าและรับสินค้าด้วย และการจ่ายเงินโดยใช้ระบบการโอนเงินด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Fund Transfer: EFT) จะทำให้มีโอกาสในการพัฒนาขบวนการสั่งซื้อ
  • ประโยชน์ทางกลยุทธ์ : จะช่วยพัฒนาประสิทธิภาพขององค์กร การพัฒนาการทำให้องค์กรมีความได้เปรียบทางการแข่งขัน เช่น การเข้าตลาดใหม่ การสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ นอกจากนี้ ยังเป็นกลยุทธ์เพื่อความอยู่รอดในสังคมธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์โลก โดยสามารถช่วยลดค่าโสหุ้ยได้

ส่วน EDI มาทดแทน ??? หรือไม่

  • เอกสารทางด้านการจัดซื้อ ได้แก่ ใบสั่งซื้อ (Purchase Order) ใบแจ้งหนี้ (Invoice) ใบเสนอราคา (Quotation) ใบแจ้งราคาสินค้า (Price/Sales Catalogue) เป็นต้น
  • เอกสารทางด้านการเงิน ได้แก่ ใบสั่งให้ธนาคารจ่ายเงิน (Payment Order) ใบแจ้งการสั่งจ่าย (Remittance Advice) เป็นต้น
  • เอกสารทางด้านการขนส่ง ได้แก่ ใบตราส่ง (Bill of Lading) ใบจองตู้สินค้า (Booking) แผนผังการบรรทุกสินค้า
    ภายในเรือ (Bayplan) ใบสั่งปล่อยสินค้า (Delivery Order) เป็นต้น
  • เอกสารทางด้านการค้าระหว่างประเทศ ได้แก่ ใบขนสินค้า (Customs Declaration) บัญชีตู้สินค้า (Manifest) เป็นต้น

กรณีศึกษา CAT-EDI กับการบริการลูกค้า ที่ทำให้ลูกค้าลดต้นทุน เป็นข้อมูลบ้างส่วน

CAT-EDI เป็นบริการที่ กสทจัดให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเอกสารทางอิเลคทรอนิกส์ที่มีรูปแบบเอกสาร เป็นมาตรฐาน ที่แน่นอนระหว่างคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะมีความน่าเชื่อถือ รวดเร็ว ประหยัด และมีความปลอดภัยในการรับ-ส่ง ข้อมูล ทั้งนี้ในปัจจุบัน กสท ได้นำ CAT-EDI มาให้บริการสำหรับการรับ-ส่งเอกสารสำหรับพิธีการศุลกากร โดยได้มีการพัฒนา   ระบบการให้บริการ   บนโปรโตคอล ebXML รองรับการรับ-ส่งเอกสารแบบ Paperless Customs ของกรมศุลกากร โดยการใช้งาน บนโปรโตคอล ebXML ของ กสท มีจุดเด่น ประกอบด้วย

สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ
ในยุคของการพัฒนาภาคธุรกิจของประเทศ ด้วยระบบ ทำให้หน่วยงานต่างๆ หันมาให้ความสนใจกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งนอกจากจะเพิ่มความสะดวก รวดเร็วในการส่งข้อมูลระหว่างกันแล้ว ยังเป็นการลดต้นทุนโดยรวมของหน่วยงานด้วย ซึ่งขณะนี้กรมศุลกากรได้เปิดให้บริการยื่นเอกสารตาม พิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless Customs) บนระบบ ebXML ซึ่งระบบ ebXML นี้มีจุดเด่นสำคัญที่จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ คือ

ลดต้นทุนขององค์กร
การลดขั้นตอนของการเดินเอกสาร ซึ่งเป็นการลดค่าใช้จ่ายโดยรวมของหน่วยงาน ประกอบกับ  กสท   ได้จัดโปรโมชั่น สุดพิเศษสำหรับการส่งเอกสาร Paperless Customs ในราคาถูกให้กับผู้ประกอบการได้เข้ามาใช้งาน โดยได้จัด Package ให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมกับปริมาณการใช้งานของธุรกิจ

จะเห็นได้ว่าระบบมีประโยชน์และลดต้นทุนทางธุรกิจ แถมประหยัดขั้นตอนในดำเนินงานยุ่งยากออกไป และระบบเป็นรากฐานในพัฒนาไปสู่ ในการทำธุรกิจเชิงพาณิชย์ และในเนื้อหาตอนต่อไปจะำนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ EPR