ข้อมูลสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน (Logistics and Supply Chain Management)

วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม หลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม

ชื่อคณะวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
ชื่อสาขาสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
ชื่อปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน)
บธ.บ. (การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน)
รายละเอียดหลักสูตรพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญในงานด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ทั้งภาคทฤษฎีและ ภาคปฏิบัติ ระหว่างศึกษามีการเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนผ่านกิจกรรมเสริมหลักสูตร อาทิ การเสริมสร้างความเข้าใจแบบบูรณาการด้วยเกมส์ด้านโลจิสติกส์ การอบรมเสริมความรู้ใหม่ๆ โดยวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญชั้นนำ สาขาวิชาได้ทำการแบ่งกลุ่มวิชาเพื่อสร้างความเชี่ยวชาญให้เกิดขึ้นกับนักศึกษามากยิ่งขึ้น ได้แก่   กลุ่มวิชาการขนส่ง กลุ่มวิชาคลังสินค้า กลุ่มวิชาการผลิต นอกจากนี้ทางสาขาได้มีความร่วมมือกับสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทยในด้านการพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่องและการเน้นสร้างความเชี่ยวชาญให้กับผู้เรียน
แผนการศึกษา
คุณสมบัติหลักสูตร 4 ปี (สำหรับผู้จบ ม.6 ปวช. กศน.) และหลักสูตร 4 ปี (สำหรับผู้จบปวส. เทียบโอน เรียนต่อ 2 ปี)
ค่าเทอมตลอดหลักสูตรปกติ 250,200 บาท
ระยะเวลาการศึกษา4 ปี
จุดเด่นสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เป็น 1 ใน 5 สาขาวิชาที่ขาดแคลนของชาติในปัจจุบัน และกองทุนเงินให้กู้ที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) พร้อมให้กู้ในปีการศึกษา 2551 เพราะรัฐได้เล็งเห็นว่าการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เป็นสายงานที่จะมีความสำคัญต่อการแข่งขันในอนาคต ช่วยให้ประเทศชาติเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับตลาดโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ   การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เป็นการบูรณาการความรู้ของศาสตร์เชิงวิชาการต่างๆ เข้าด้วยกัน ทำให้เกิดการเชื่อมโยงของธุรกิจ และสร้างให้บุคลากรเกิดแนวคิดเชิงระบบ กล่าวคือ ไม่ได้พิจารณาเพียงแค่แผนก หรือหน่วยงาน หรือองค์กรหนึ่งเท่านั้น แต่ต้องพิจารณาทั่วทั้งองค์กร ไปตลอดจนพันธมิตรทางธุรกิจในทุกๆ ส่วน และต้องคำนึงถึงวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ด้วย (ตั่งแต่เริ่มผลิตสินค้า จนถึงสินค้าหมดอายุ และการทำลายสินค้า) ส่งผลให้เกิดผลลัพทธ์ทางด้าน ต้นทุน เวลาที่เหมาะสม และคุณภาพของสินค้าที่ลูกค้าต้องการ งานของโลจิสติกส์สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ กิจกรรมการเคลื่อนย้าย ประกอบด้วย การขนส่ง การเคลื่อนย้ายของข้อมูลข่าวสาร เช่น ความต้องการของลูกค้า การเคลื่อนย้ายของเงินทุน เป็นต้น กิจกรรมการจัดเก็บและควบคุมสินค้า ประกอบด้วย การจัดซื้อ-จัดหา การจัดการคลังสินค้า การจัดการสินค้าคงคลัง กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกระจายสินค้า ประกอบด้วย ศูนย์กระจายสินค้า การบรรจุภัณฑ์ การส่งมอบสินค้า
ทุนการศึกษากรอ./กยศ.
 สถานที่เรียน02 558 6888 ต่อ 2121-4, 084 751 2900-15
Facebook Fan Page : fb/CLS.SPU/